Page 69 - kpiebook63031
P. 69
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
68 จังหวัดอุบลราชธานี
จากเงื่อนไข 2 ประการดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มการเมืองระดับท้องถิ่นมีความเข้มแข็งมากขึ้น และ
กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของการเมืองจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวคือ การกระจายอำานาจทางการเมือง
ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วน
ตำาบล(อบต.) ท้ายที่สุดแล้ว หากกลุ่มการเมืองระดับท้องถิ่นเข้มแข็ง และกลุ่มการเมืองระดับชาติอ่อนแอ
เพราะโครงสร้างโอกาสทางการเมืองไม่เอื้อ เครือข่ายของกลุ่มการเมืองระดับท้องถิ่นจะเริ่มมีบทบาท
ขยายตัวเข้ามาในเวทีการเมืองระดับชาติมากขึ้น แทนที่การเมืองระดับชาติจะขยายตัวเข้าไปครอบคลุม
เวทีระดับท้องถิ่นมากขึ้น ดังเช่นกรณีจังหวัดศรีสะเกษ
ด้านความแตกต่างของนักการเมืองจังหวัดศรีสะเกษกับจังหวัดอื่นๆ พบว่าโครงสร้างและ
ลักษณะเฉพาะของนักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษที่มีความโดดเด่น มีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่าง
จากจังหวัดอื่นอย่างมีนัยยะสำาคัญ ได้แก่
ประการแรก นักการเมืองจังหวัดศรีสะเกษในระยะเริ่มแรกมีสัดส่วนของผู้ที่ประกอบอาชีพด้าน
กฎหมาย อาทิ ทนายความ ผู้พิพากษา ในสัดส่วนที่สูงกว่าวิชาชีพอื่นๆ อย่างมีนัยยะสำาคัญ สาเหตุสำาคัญ
อย่างหนึ่งเป็นเพราะ วิชาชีพทางด้านกฎหมายสามารถเป็นที่พึ่งพาอาศัยของชาวบ้านได้ โดยเฉพาะ
ชาวบ้านที่มีข้อพิพาทในด้านที่ดินทำากิน การถูกเอารัดเอาเปรียบ ปัญหาหนี้สิน และคดีความต่างๆ
ส่งผลให้วิชาชีพเหล่านี้ได้รับการยอมรับและมีบทบาทสำาคัญในสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์
และข้อพิพาทในที่ดินทำากิน
ประการที่สอง นักการเมืองเกือบทั้งหมดของจังหวัดศรีสะเกษตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่า
จะเป็นนักการเมืองระดับชาติ หรือระดับท้องถิ่น มักจะมีเชื้อสายพ่อค้าจีน โดยในระยะแรกๆ ที่เปิดให้มี
การเลือกตั้ง ส.ส. นักการเมืองถิ่นอาจมีกลุ่มข้าราชการบำานาญในพื้นที่หรือกลุ่มเจ้าของโรงเรียนอยู่บ้าง
แต่ในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษเกือบทั้งหมดมีเชื้อสายจีน หรือ “คนผิวขาว”
ซึ่งแตกต่างจากชาวบ้านพื้นถิ่นเดิมที่เป็นเผ่าพันธุ์ส่วย (กวย) ลาว เขมร เยอ ที่มีผิวคลำ้า
ตระกูลนักการเมืองศรีสะเกษที่สืบทอดจากพ่อค้าชาวจีน หรือสืบทอดจากเชื้อชาติจีนที่สำาคัญ
ได้แก่ ตระกูล “วัชราภรณ์” “วีสมหมาย” “เครือรัตน์” “ไตรสรณกุล” “อังคสกุลเกียรติ” “เจริญประเสริฐ”
“แซ่จึง” เป็นต้น
ประการที่สาม ความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ
กับจังหวัดอื่นๆ พบว่า ในจังหวัดศรีสะเกษ ประชาชนมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน
เขตชนบทแบบสังคมเกษตรกรรม ยึดมั่นในระบบเครือญาติ ระบบอุปถัมภ์ มีความฝักใฝ่ในทางศาสนาพุทธ
สืบทอดประเพณีวัฒนธรรม และมีลักษณะนิสัยเฉพาะตามกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ชาวส่วย (กูย) เขมร เยอ
พบว่า มีลักษณะนิสัยเจียมเนื้อเจียมตัว มองว่าตัวเองเป็นคนด้อย เคารพผู้มีอำานาจและคนมีทรัพย์สิน