Page 66 - kpiebook63031
P. 66

65








                          8.  การลงพื้นที่ของผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ โดยส่วนใหญ่ นักการเมืองที่จะได้รับ

                               การเลือกตั้งในจังหวัดศรีสะเกษ จะต้องลงพื้นที่พบปะชาวบ้านอย่างสมำ่าเสมอ ผู้สมัคร ส.ส.
                               จะใช้โอกาสในช่วงเวลาที่ชุมชนมีงานบุญ งานบวช งานศพ งานแต่งงาน หรืองานเลี้ยง

                               ต่างๆ ลงพื้นที่พบปะสร้างความคุ้นเคย ความเป็นกันเองกับชาวบ้าน โดยเจ้าภาพมักจะเชิญ
                               ส.ส.และนักการเมืองท้องถิ่นมาเป็นประธานในงานเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าภาพจนกลายเป็น

                               ธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาในสังคมยุคปัจจุบัน

                          9.  การหาเสียงรูปแบบวิธีการอื่นๆ ที่สำาคัญได้แก่ การใช้สื่อโฆษณาหาเสียงรูปแบบต่างๆ
                               อาทิ การใช้รถแห่เป็นขบวนยาวหลายสิบคันรถในลักษณะขบวนคาราวานโดยมีการโชว์ตัว

                               ผู้สมัครและทีม ส.ส.ของพรรคเพื่อปลุกเร้าความสนใจจากประชาชน การจัดตั้งทีมงานแจก
                               แผ่นป้ายโฆษณา แจกเสื้อทีมกีฬาโดยมีชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปักไว้ที่เสื้อ ส่งรถมาช่วยขนศพ

                               ส่งเครื่องดื่มและนำ้าแข็งมาช่วยงาน ทำาป้ายโฆษณาตามถนน ใช้สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อวิทยุ
                               ชุมชน ฯลฯ


                          ด้านเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัดศรีสะเกษทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น
                  การสืบทอดตระกูลหรือกลุ่มทางการเมือง


                          เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัดศรีสะเกษมีลักษณะสำาคัญ คือ การสืบทอด
                  เป็นตระกูลและกลุ่มทางการเมือง การสืบทอดเป็นตระกูล สานต่อจากบิดามายังบุตร จากพี่มายังน้อง

                  จากสามีมายังภรรยา จากอามาสู่หลาน และในเครือญาติ สาเหตุสำาคัญในการสร้างทายาททางการเมือง

                  คือ เพื่อสานต่ออุดมการณ์ทางการเมือง ขยายฐานทางการเมืองและธุรกิจของกลุ่มเครือข่าย เป็นต้น
                  ใช้วิธีการสานต่อด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งคู่กัน หรือบิดาเลิกเล่นการเมืองแล้วให้บุตรมาลงสมัคร
                  รับเลือกตั้งแทน


                          ในด้านวิธีการเข้าสู่วงการเมืองระดับชาติ (ส.ส., ส.ว.) นักการเมืองยุคใหม่ของจังหวัดมักลงสมัคร

                  รับเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นก่อน เช่น เป็นสมาชิกสภาจังหวัด ยกเว้นกลุ่มตระกูลที่กุมฐานเสียงในระดับ
                  ท้องถิ่นอยู่แล้วจะส่งบุตรหลานหรือสามีภรรยาลงสมัครในเวทีระดับชาติทันทีโดยใช้ฐานเสียงในระดับ

                  ท้องถิ่นของกลุ่มตนช่วยสนับสนุน


                          โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพ่อค้า นักธุรกิจเชื้อสายจีน ข้าราชการบำานาญ เจ้าของโรงเรียน
                  และทนายความ ตระกูลทางการเมืองที่มีการสืบทอดและมีบทบาทสำาคัญของจังหวัดศรีสะเกษ นับตั้งแต่

                  ช่วงปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ที่สำาคัญประกอบด้วย ตระกูลวัชราภรณ์ ตระกูลวีสมหมาย ตระกูลเครือรัตน์
                  ตระกูลไตรสรณกุล และตระกูลอังคสกุลเกียรติ
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71