Page 64 - kpiebook63031
P. 64
63
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุบลราชธานี ผลกระทบการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ใหม่ พ.ศ. 2560 โดยค้นพบรูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นับตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2476 จนถึงปี พ.ศ. 2554 การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงตามลักษณะ
พลวัต(dynamic) ของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่สำาคัญดังนี้
1. การแจกเงินและสิ่งของ ในยุคปัจจุบัน การแจกเงินหรือสิ่งของไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะทำาให้ชนะ
การเลือกตั้งเสมอไป ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องพรรค ตัวบุคคลและการลงพื้นที่อย่างสมำ่าเสมอ
อีกด้วย
2. ยำ้าความเป็นผู้ที่มีหน้าที่การงานดี และมีความรู้สูง เน้นปริญญา ผู้สมัครมักชูความเป็น
ผู้มีความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับปริญญาในสาขาต่างๆ กลายเป็นค่านิยมสำาหรับนักการเมือง
ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น
3. การชูประเด็นความเป็นคนในพื้นที่หรือท้องถิ่น การถูกมองว่าด้อยกว่า เป็นคนบ้านนอก
เป็นคนต่างจังหวัดที่มีการศึกษาน้อย ยังไม่ค่อยพัฒนา และด้อยในทางวัฒนธรรม การเผชิญ
กับสภาพเช่นนี้ทำาให้คนอีสานมีแนวโน้มที่จะรวมกลุ่ม เนื่องจากมีความรู้สึกร่วมในเรื่อง
วัฒนธรรมย่อย ภาษาถิ่น รสนิยมเรื่องอาหาร ดนตรี และอื่นๆ เป็นที่มาของการเกิดแนวคิด
ท้องถิ่นนิยมหรือท้องถิ่นอีสานนิยม ผู้สมัคร ส.ส.ในอดีตมักนำาประเด็นเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์
โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้สมัครต่างถิ่นเข้ามาแข่งขัน หรือคนที่ไม่มีภูมิลำาเนาที่นั้นมาสมัคร
รับเลือกตั้งแข่งขันในพื้นที่ ในยุคปัจจุบัน การชูประเด็นความเป็นคนในพื้นที่หรือเป็นคนในท้องถิ่น
ได้ลดความสำาคัญลง เห็นได้จากกรณีการได้รับการเลือกตั้งของตระกูลนางสุนีย์ อินฉัตร
4. การสนับสนุนการศึกษา การกีฬาและกิจกรรมของชุมชน ในช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา
นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษพยายามใช้กีฬาเป็นสื่อในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัว
เองมากยิ่งขึ้น อาทิ นายบุญชง วีสมหมาย นายธเนศ เครือรัตน์ นายวิชิต ไตรสรณกุล
นายฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ นายสรศาสตร์ ศรีธัญรัตน์ นายสมบัติ เกียรติสุรนนท์ เป็นต้น
นอกจากการสนับสนุนด้านกีฬาและการศึกษาแล้ว นักการเมืองบางคนใช้วิธีการทำาบุญ
บริจาคตามวัดและสถานปฏิบัติธรรมต่างๆ เพื่อสร้างชื่อเสียงและความรู้จักมักคุ้น ก่อนจะ
ลงสมัครรับเลือกตั้ง อาทิ นางสุนีย์ อินฉัตร และนางมาลินี อินฉัตร
5. เน้นการแก้ปัญหาปากท้องของคนในพื้นที่ การหาเสียงโดยการชูประเด็นการแก้ไขปัญหา
ปากท้องความอยู่ดีกินดีของประชาชนมีมาตั้งแต่สมัยอดีต ประเด็นเนื้อหาการอภิปราย
หาเสียงของผู้สมัคร ส.ส.มักเป็นประเด็นเรื่องปากเรื่องท้อง ความกินดีอยู่ดีของประชาชน
การสร้างระบบชลประทาน การศึกษา การรักษาพยาบาล และระบบสวัสดิการสังคมต่างๆ
เพื่อช่วยเหลือคนยากจน มาในยุค พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา การชูประเด็นในการหาเสียงมี
แนวโน้มที่จะอิงกับนโยบายของพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดมากขึ้น โดยเฉพาะการอิงกับ
นโยบายแนวประชานิยมของพรรคไทยรักไทย หรือพรรคพลังประชาชน