Page 59 - kpiebook63031
P. 59

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           58       จังหวัดอุบลราชธานี







             ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา “กลุ่มธุรกิจ” ได้เข้ามา

             มีบทบาททางการเมืองโดยตรงมากขึ้นในลักษณะของการทำาธุรกิจควบคู่ไปกับการทำางานทางการเมือง
             โดยการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ทางการเมืองกับนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น

             รวมถึงการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ


                      นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ สุพรรณี เกลื่อนกลาด ยังค้นพบอีกว่า ความสัมพันธ์ของ
             “กลุ่มผลประโยชน์” กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ใน 3 ระดับ คือ

             1) กลุ่มการเมืองท้องถิ่นเป็นผู้คุมฐานคะแนนเสียงให้กับพรรคการเมือง 2) นักการเมืองระดับชาติมีความสัมพันธ์
             เชิงแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางธุรกิจกับกลุ่มธุรกิจในท้องถิ่นโดยเป็นผู้ประสานการจัดสรรงบเงินอุดหนุน

             จากรัฐบาลให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 3) กลุ่มการเมืองในท้องถิ่นมีความพยายามที่จะสร้าง
             เครือข่ายทางการเมืองให้ครอบคลุมการเมืองในระดับท้องถิ่นโดยการส่งคนในครอบครัวและเครือญาติ

             ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเมืองท้องถิ่นทั้ง 3 ระดับ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และ
             องค์การบริหารส่วนตำาบล (อบต.)


                      งานศึกษาของ ธวัชชัย กฤติยาภิชาตกุล (2541) เรื่อง “การสร้างทายาททางการเมืองของตระกูล

             การเมืองไทย” มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาตระกูลการเมืองไทยว่า ประกอบด้วยตระกูลใดบ้าง มีพื้นฐาน
             มาจากอาชีพใด แต่ละตระกูล มีระดับของความสัมพันธ์ในการสืบทอดอำานาจอย่างไร สาเหตุ วิธีการ
             และแนวทางในการสร้างทายาททางการเมืองของตระกูลการเมือง ศึกษาวิเคราะห์การสร้างทายาทของ

             5 ตระกูลการเมือง รวมถึงศึกษาแนวโน้มในการสร้างทายาททางการเมืองเพื่อพัฒนาเป็นตระกูลการเมือง

             ต่อไปในอนาคต

                      ผลการศึกษา พบว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในปี

             พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา มีตระกูลการเมืองทั้งสิ้น จำานวน 97 ตระกูล ความสัมพันธ์ในการสืบทอดทายาท
             ทางการเมืองเป็นการสานต่อในลักษณะจากบิดามายังบุตรมากที่สุด สาเหตุในการสร้างทายาททางการเมือง

             เพื่อต้องการสานต่ออุดมการณ์ทางการเมือง ส่วนวิธีการสานต่อทายาททางการเมืองที่นิยม คือ การลงสมัคร
             รับเลือกตั้งคู่กันระหว่างบุคคลที่เป็นนักการเมือง กับบุคคลที่เป็นทายาททางการเมือง กระบวนการเข้าสู่

             วงการเมืองของตระกูลการเมืองส่วนใหญ่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่ผ่าน
             การเมืองระดับท้องถิ่นมาก่อน ช่วงระยะเวลาในการเคลื่อนไหวทางการเมืองระหว่างเวลา 20-30 ปี

             มีจำานวนมากที่สุด พื้นฐานอาชีพของทายาททางการเมืองก่อนเข้าสู่วงการเมือง พบว่า เป็นนักธุรกิจมากที่สุด
             ขณะที่การศึกษาถึงตระกูลการเมืองไทย 5 ตระกูล ได้แก่ ตระกูล “ทองสวัสดิ์” จังหวัดลำาปาง ตระกูล

             “ลิมปะพันธุ์” จังหวัดสุโขทัย ตระกูล “อังกินันท์” จังหวัดเพชรบุรี ตระกูล “มาศดิตถ์” จังหวัดนครศรีธรรมราช
             และ ตระกูล “จุรีมาศ” จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า สาเหตุการสร้างทายาททางการเมืองแตกต่างกันตามเหตุผล

             และเงื่อนไขของแต่ละตระกูล แต่เหตุผลสำาคัญประการหนึ่ง คือ ความผูกพันกับประชาชนในพื้นที่ที่ตระกูลนั้น
             มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาเป็นเวลานาน และต้องหาทายาทมาสานต่อทางการเมือง
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64