Page 58 - kpiebook63031
P. 58

57








                  ซึ่งต้องมีความเกี่ยวข้องกับภาครัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับนโยบายของรัฐที่เปิดกว้างมากขึ้น

                  ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป ชื่อเสียง เกียรติยศ จึงทำาให้พ่อค้าชาวจีนเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยตรง
                  ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวของพ่อค้าชาวจีนเพื่อสนองตอบต่อระบบเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวเพื่อปกป้อง

                  คุ้มครองผลประโยชน์ของตน


                          สำาหรับกลุ่มการเมืองที่มีบทบาทกุมอำานาจท้องถิ่นที่ศึกษานี้ แกนนำาของกลุ่มและเครือญาติ
                  มาจากการเติบโตของธุรกิจก่อสร้างและบริการ บันเทิง ร่วมกับกลุ่มพ่อค้าชาวจีนในเมืองโดยมีสายสัมพันธ์กับ

                  ผู้นำาคุ้มต่างๆ ที่มีเชื้อสายไทยอีสาน ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มการเมืองขึ้น ปัจจัยหนึ่งที่ทำาให้กลุ่มการเมืองกลุ่มนี้
                  ประสบความสำาเร็จ คือ “ทุน” ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำาคัญอันเป็นที่มาของอำานาจนั้นอยู่ที่แกนนำาของกลุ่ม

                  โดยเฉพาะที่ผู้นำากลุ่มบุคคลต่างๆ ภายในกลุ่มถือว่ามีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ทางการเมืองซึ่งกันและกัน
                  บุคคลในกลุ่มที่จะเข้าสู่อำานาจทางการเมืองได้นั้น จะต้องอาศัยฐานเครือข่ายความสัมพันธ์ของสมาชิก

                  แต่ละคนช่วยกันหาคะแนนเสียงให้แก่กลุ่ม

                          ส่วนฐานเครือข่ายความสัมพันธ์ที่สำาคัญ ที่มีส่วนช่วยให้กลุ่มการเมืองประสบความสำาเร็จ ได้แก่

                  ฐานของเครือข่ายความสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติ ทางด้านการค้า ทางด้านประเพณีวัฒนธรรมและฐาน

                  ของเครือข่ายความสัมพันธ์ทางด้านองค์กรหรือกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มสตรี หอการค้า
                  มูลนิธิ สโมสรไลอ้อนส์ – สโมสรโรตารี่ ฯลฯ จากเครือข่ายต่างๆ ที่มีอย่างกว้างขวางเหล่านี้ จึงทำาให้กลุ่ม
                  การเมืองที่ศึกษานี้ประสบความสำาเร็จในสนามเลือกตั้งแทบทุกครั้ง นอกจากนี้ กลุ่มการเมืองกลุ่มนี้ยังมี

                  บทบาทผลักดันการเมือง อยู่เบื้องหลังความสำาเร็จของนักการเมืองตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงระดับประเทศ

                  ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ศักยภาพและบทบาทของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นนี้มีความสำาคัญยิ่ง และยังมีแนวโน้ม
                  ของการกระจุกตัวอำานาจซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านการครอบครองและแบ่งปันทรัพยากร อันอาจนำาไปสู่
                  ความขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่นในอนาคตได้ นอกจากนี้จากการที่กลุ่มพ่อค้าชาวจีนเข้ามามีบทบาท

                  ทางการเมืองท้องถิ่นนี้ น่าจะทำาให้ผู้นำาท้องถิ่นกลุ่มนี้สามารถโยงใยสายสัมพันธ์ถึงผู้นำาระดับที่สูงกว่าได้

                  ขณะเดียวกันก็มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ อันเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตนได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
                  อีกทั้งเครือข่ายความสัมพันธ์ที่กลุ่มเข้าไปมีบทบาทน่าจะมิได้จำากัดเฉพาะเพียงการอุปถัมภ์ทางการเมือง
                  แต่อาจผูกพันไปจนถึงการอุปถัมภ์ทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกันก็เป็นได้


                          งานศึกษาของ สุพรรณี เกลื่อนกลาด (2549) ศึกษาเรื่อง “กลุ่มผลประโยชน์กับองค์การปกครอง

                  ส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษา 4 เทศบาลนครในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยมีวัตถุเพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์
                  โครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองใน 4 เทศบาล ประกอบด้วยเทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลนคร

                  อุบลราชธานี เทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลนครราชสีมา และ 2) วิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์ เครือข่าย
                  ความสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์และการจัดสรรงบประมาณของเทศบาลดังกล่าวข้างต้น


                          จากการศึกษาพบว่า สมาชิกใน “กลุ่มการเมือง” ก่อนเข้าสู่การเมืองท้องถิ่นต่างมีการสะสมทุน

                  ในภาคธุรกิจโดยมีระดับความมั่นคงทางการเงินในระดับหนึ่งแล้วจึงเข้าสู่การเมืองในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63