Page 54 - kpiebook63031
P. 54
53
ในส่วนรูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี จากการศึกษา พบว่า
รูปแบบวิธีการหาเสียงของนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งในสมัยแรกที่มีการเลือกตั้งกับในปัจจุบันแตกต่างกัน
กล่าวคือ ในสมัยแรกจากการเลือกตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีนักการเมืองได้รับเลือกตั้ง เช่น นายทองอินทร์
ภูริพัฒน์ นายเลียง ไชยกาล นายฟอง สิทธิธรรม การหาเสียงใช้รูปแบบของการออกปราศรัยตามท้องถิ่น
ต่างๆ ในเขตเลือกตั้ง และการใช้กลุ่มเครือญาติ เพื่อนสนิทช่วยในการหาเสียง แต่รูปแบบและวิธีการ
หาเสียงของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นการใช้การจัดตั้งระบบ
หัวคะแนนในหมู่บ้านและชุมชนกระจายครอบคลุมเขตเลือกตั้ง ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถในการจัดตั้ง
หัวคะแนนจัดได้ว่าเป็นปัจจัยชี้ขาดสำาคัญที่จะทำาให้ผู้สมัครได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ผู้สมัคร
ยังจะต้องมีความสามารถและเอาใจใส่ต่อการให้บริการประชาชนในเขตเลือกตั้ง เช่น การดูแลทุกข์สุข
ของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนที่มาขอความช่วยเหลือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้ง การเข้าร่วมในกิจกรรมงานบุญประเพณีที่ชาวบ้านในชุมชนจัดขึ้นอย่างสมำ่าเสมอตลอดเวลา
ซึ่งรูปแบบและวิธีการหาเสียงดังกล่าวสำาคัญมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครที่เป็น
คนมีความรู้ความสามารถ คบง่าย พึ่งพาได้ ก็เป็นปัจจัยที่สำาคัญประกอบกัน
เต็มบุญ ศรีธัญรัตน์ (2554) ศึกษา กลุ่มการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลเมืองและเทศบาลนครใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ประการ คือ 1) ศึกษาเปรียบเทียบกำาเนิด
กลุ่มการเมืองท้องถิ่นในเทศบาล 2) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นกับพรรคการเมือง
หรือกลุ่มการเมืองระดับชาติ 3) ศึกษาถึงการแข่งขันของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นกลุ่มต่างๆ ในเทศบาล และ
4) ศึกษาบทบาทของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในการผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
ระเบียบวิธีการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลโดย
ส่วนใหญ่มาจากการสัมภาษณ์นักการเมืองท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 17 คน พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมือง 3 แห่ง คือ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ
เทศบาลเมืองอำานาจเจริญ และเทศบาลเมืองยโสธร และการวิจัยเชิงปริมาณ ได้กำาหนดจำานวนประชากร
ตัวอย่าง ดังนี้ เทศบาลนครอุบลราชธานี 397 คน เทศบาลเมืองศรีสะเกษ 394 คน เทศบาลเมือง
อำานาจเจริญ 390 คน และเทศบาลเมืองยโสธร 390 คน รวมประชากรตัวอย่างทั้งหมด จำานวน 1,571 คน
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า
1. เปรียบเทียบกำาเนิดกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนใต้ พบว่า การรวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มการเมืองท้องถิ่นระดับเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครในเขตพื้นนี้
จะมีลักษณะสำาคัญที่สอดคล้องกัน คือ มีการสืบทอดเป็นตระกูลทางการเมือง และเกิดจากการรวมกลุ่มของ
นักธุรกิจ พ่อค้า นักลงทุนที่มีเชื้อสายจีนและการรวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มการเมืองท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน
ในประเด็นสำาคัญ คือ ระดับการแข่งขัน หรือความรุนแรงที่มีความแตกต่างกัน ลักษณะการสร้างเครือข่าย
ระหว่างกลุ่มการเมืองระดับชาติกับกลุ่มการเมืองท้องถิ่นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด เขตที่มี
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งน้อยมักจะเอื้อให้เกิดการผูกขาดอำานาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นเพียง
กลุ่มเดียวเป็นหลัก