Page 51 - kpiebook63031
P. 51

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           50       จังหวัดอุบลราชธานี







                      เครือข่ายของระบบอุปถัมภ์ได้กลายมาเป็นวิธีการที่พรรคการเมืองใช้ในการหาคะแนนเสียงใน

             ชนบท ผู้รับอุปถัมภ์ในทางการเมืองมักจะถูกพรรคการเมืองใช้ให้เป็นหัวคะแนน โดยอาจให้ผลตอบแทน
             แก่ผู้รับอุปถัมภ์ เช่นการให้สัญญาในการปฏิรูปที่ดินเพื่อแลกเปลี่ยนกับคะแนนเสียง ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง

             กับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้



                      3.4 ระบบอุปถัมภ์กับ “เจ้ำพ่อ”


                      คำาว่า “เจ้าพ่อ” ก็เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์เช่นกัน ซึ่งมักจะ
             ใช้อำานาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องต่อสาธารณชน พวกนี้จะมีลูกน้องที่อาจเป็นนักเลงหรือมือปืนที่เป็น

             ผู้รับอุปถัมภ์ซึ่งพร้อมที่จะรับใช้นายคือ “เจ้าพ่อ” ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ หรือก่อให้เกิด
             ความเดือดร้อนต่อประชาชนที่อยู่ในท้องที่ได้


                      ความสัมพันธ์แบบ “เจ้าพ่อ” นั้น ถึงแม้จะเป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ แต่ก็เป็นการอุปถัมภ์
             กับคนที่เป็นลูกน้องตนเท่านั้น โดยทั่วไปชาวบ้านมักจะถูกเอาเปรียบ โดยเฉพาะในกรณีของอิทธิพล

             ของบ่อนการพนันและสถานเริงรมย์ต่างๆ ที่มีการเรียกค่าคุ้มครอง “เจ้าพ่อ” จะได้รับการคุ้มครองจาก

             เจ้าหน้าที่บ้านเมืองด้วย ทำาให้การเอารัดเอาเปรียบประชาชนเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น (อมรา พงศาพิชญ์
             และปรีชา คุวินทร์พันธุ์, 2545, น. 6)


                      ในยุคปัจจุบัน กรอบแนวคิดเรื่องอุปถัมภ์อาจมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับความสัมพันธ์
             ในเชิง “เจ้าพ่อ” โดยเฉพาะในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทยที่ “เจ้าพ่อ” มักจะกลายเป็นนักการเมืองถิ่นด้วย

             อาทิ จังหวัดในภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด เป็นต้น


                      เวียงรัฐ เนติโพธิ์ (2546, น. 449-455) นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
             ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “เจ้าพ่อ” ในสังคมการเมืองไทย สรุปว่า ความหมายของคนที่เป็นเจ้าพ่อที่เรานึกถึง

             ในสังคมไทยครอบคลุมอยู่สองประเด็น นั่นคือ


                      ประเด็นแรก พวกเขาคือผู้มีอำานาจนอกภาครัฐ มีพรรคพวกมากสามารถรวบรวมความจงรักภักดี
             ความนับถือจากคนจำานวนมาก โดยที่อำานาจและบารมีที่เขามีเกิดขึ้นจากสิทธิพิเศษที่เขาสามารถเข้าถึง

             ผู้มีอำานาจในรัฐและใช้ประโยชน์จากความสามารถเหล่านี้ได้ (ซึ่งจะเรียกว่าเส้นสายหรือคอนเนคชั่นก็ได้)
             พวกเขาสามารถที่จะปะทะ แข่งขัน ต่อรอง ประนีประนอมกับอำานาจรัฐได้อย่างเท่าเทียม มากกว่า หรือ

             บางครั้งอาจจะน้อยกว่า ในขณะที่ประชาชนที่เป็นปัจเจกบุคคลทั่วไปทำาเช่นนั้นไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับที่
             Joel Migdal เรียกว่าเป็น strong men (ผู้มีอิทธิพล) ที่นับเป็นอำานาจทางสังคมแบบหนึ่ง


                      ประเด็นที่สอง มีลักษณะเหมือน godfather หรือหัวหน้าแก๊งมาเฟียหรือองค์กรอาชญากรรม

             คือ ทำาธุรกิจผิดกฎหมาย มีลูกน้องภายใต้การบังคับบัญชามาก ใช้ความรุนแรงเพื่อแสดงอำานาจของตน
             ซึ่งทำาได้โดยใช้ช่องทางที่ระบบราชการอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพเข้ามาแสวงหาประโยชน์
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56