Page 61 - kpiebook63031
P. 61

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           60       จังหวัดอุบลราชธานี







             จังหวัด โดยทำาการศึกษานักการเมืองระดับชาติ ตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2548 โดย

             ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา


                      ผลการศึกษาพบว่า นักการเมืองที่โดดเด่นในยุคแรก พ.ศ. 2476-2500 ได้แก่ นายเสรี อิศรางกูร
             ณ อยุธยา (บิดาของพลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และเป็นรัฐมนตรีคนแรกของบุรีรัมย์) และ

             นายสะอิ้ง มารังกูล (นักการเมืองหัวก้าวหน้าในยุคแรก) ในยุคที่ 2 (พ.ศ. 2512-2519) นักการเมืองที่โดดเด่น
             คือ นายสวัสดิ์ คชเสนีย์ และนายประเสริฐ เลิศยะโส (ผู้สมัครพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย)

             เป็นนักการเมืองหัวก้าวหน้าที่ได้รับเลือกหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในยุคที่สาม (พ.ศ. 2522-2535)
             นักการเมืองที่โดดเด่น คือ นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ (อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย) และนายการุณ ใสงาม

             นักการเมืองหัวก้าวหน้า ในยุคที่สี่ (พ.ศ. 2535-2540) นักการเมืองที่โดดเด่นคือ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์
             (อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย) ในยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2540-2548) นักการเมืองบุรีรัมย์ที่โดดเด่น คือ

             นายเนวิน ชิดชอบ (รัฐมนตรีหลายสมัย) นายโสภณ เพชรสว่าง (อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร)
             และพลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (รัฐมนตรีหลายสมัย)


                      สำาหรับเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองในจังหวัด พบว่า นักการเมืองบุรีรัมย์

             มีความสัมพันธ์กันผ่านการทำาธุรกิจและการแบ่งปันผลประโยชน์งบประมาณพัฒนาที่ลงมาในพื้นที่เลือกตั้ง
             มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติกันบ้าง และสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม
             องค์กรกู้ภัย เป็นต้น ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับพรรคการเมืองจะสัมพันธ์ผ่านมุ้งการเมือง

             ที่ตนสังกัดอยู่


                      ในด้านวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้ง มีพัฒนาการมาตั้งแต่การเคาะประตูบ้าน จัดมหรสพแล้ว
             ปราศรัยหาเสียง ทำาโปสเตอร์แผ่นป้ายโฆษณา มาจนถึงการแจกสิ่งของ อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า

             จนแจกเงินในท้ายที่สุด และรูปแบบการจัดตั้งหัวคะแนนเริ่มจากง่ายๆ อาศัยผู้นำาท้องถิ่น มาเป็นการวาง
             เครือข่ายคล้ายธุรกิจขายตรง มีสัดส่วนหัวคะแนนต่อผู้ใช้สิทธิเล็กลงและนอกจากนี้ยังใช้วิธีการหาเสียง

             โดยจัดตั้งกองทุนให้กลุ่มชาวบ้าน การอบรมและพาไปศึกษาดูงาน การจัดเลี้ยง การแจกเบี้ยเลี้ยง เป็นต้น


                      งานศึกษาของ จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ (2546) เรื่อง “การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎร เขตการเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ” ซึ่งดำาเนินการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2546

             แทนนายบุญชง วีสมหมาย ซึ่งเสียชีวิต โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมคนสำาคัญ คือ นายมานะ มหาสุวีระชัย
             พรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 กับนายธเนศ เครือรัตน์

             พรรคไทยรักไทย อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ บุตรชายของนายไพโรจน์ เครือรัตน์
             อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัยของจังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้ศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง

             การรณรงค์การเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งตำาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งศึกษาผลกระทบ ปัญหา
             อุปสรรค ตลอดจนแนวทางในการแก้ปัญหาในการรณรงค์หาเสียง
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66