Page 71 - kpiebook63031
P. 71

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           70       จังหวัดอุบลราชธานี







                      นอกจากนี้ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

             ก็ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง 7 เขต จากทั้งหมด 8 เขตเลือกตั้ง ส่วนพรรคที่สามารถสอด
             แทรกเข้ามาได้ 1 ที่นั่ง คือ เขต 3 นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ พรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีฐานเสียงที่เข้มแข็ง

             มีการลงพื้นฐานอย่างต่อเนื่องยาวนาน


                      ทั้งนี้ ตัวอย่างงานสำาคัญที่จะนำาไปถกเถียง อภิปรายผล เพื่อเปรียบเทียบกับงาน “การศึกษา
             ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดอุบลราชธานี”

             ในครั้งนี้ คือ งานของ สุเชาว์ มีหนองหว้า และ กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ (2549) เรื่อง “นักการเมืองถิ่นจังหวัด
             อุบลราชธานี” โดยเฉพาะการเปรียบเทียบในส่วนรูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองถิ่นใน

             จังหวัดอุบลราชธานีซึ่ง สุเชาว์ มีหนองหว้า และ กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ ค้นพบว่า รูปแบบวิธีการหาเสียงของ
             นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งในสมัยแรกที่มีการเลือกตั้งกับในปัจจุบันแตกต่างกัน กล่าวคือ ในสมัยแรก

             จากการเลือกตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีนักการเมืองได้รับเลือกตั้ง เช่น นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
             นายเลียง ไชยกาล  นายฟอง สิทธิธรรม การหาเสียงใช้รูปแบบของการออกปราศรัยตามท้องถิ่นต่างๆ

             ในเขตเลือกตั้ง และการใช้กลุ่มเครือญาติ เพื่อนสนิทช่วยในการหาเสียง แต่รูปแบบและวิธีการหาเสียงของ
             นักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นการใช้การจัดตั้งระบบหัวคะแนนใน

             หมู่บ้านและชุมชนกระจายครอบคลุมเขตเลือกตั้ง ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถในการจัดตั้งหัวคะแนน
             จัดได้ว่าเป็นปัจจัยชี้ขาดสำาคัญที่จะทำาให้ผู้สมัครได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ผู้สมัครยังจะต้อง

             มีความสามารถและเอาใจใส่ต่อการให้บริการประชาชนในเขตเลือกตั้ง เช่น การดูแลทุกข์สุขของประชาชน
             ที่ได้รับความเดือดร้อนที่มาขอความช่วยเหลือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

             การเข้าร่วมในกิจกรรมงานบุญประเพณีที่ชาวบ้านในชุมชนจัดขึ้น อย่างสมำ่าเสมอตลอดเวลา ซึ่งรูปแบบ
             และวิธีการหาเสียงดังกล่าวสำาคัญมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครที่เป็นคนมีความรู้

             ความสามารถ คบง่าย พึ่งพาได้ ก็เป็นปัจจัยที่สำาคัญประกอบกัน เป็นต้น
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76