Page 45 - kpiebook63031
P. 45
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
44 จังหวัดอุบลราชธานี
4. ความสัมพันธ์นี้ ประกอบด้วยบุคคลเพียงสองคน ดังนั้นผลประโยชน์ที่แลกเปลี่ยนกัน
จึงเป็นผลประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจงเป็นการส่วนตัว เช่น การเอื้อผลประโยชน์ต่อกันระหว่าง
เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำานาจที่จะให้ผลประโยชน์เฉพาะอย่างแก่พ่อค้าได้ และพ่อค้าก็จะให้
สิ่งของหรือเงินเป็นการแลกเปลี่ยนต่อการได้รับสิทธิบางอย่างจากเจ้าหน้าที่นั้น ในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางการเมือง
ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากโครงสร้างทางการเมืองแบบกลุ่ม กล่าวคือ
4.1 ระบบนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำาแต่เพียงฝ่ายเดียว (ผู้อุปถัมภ์)
4.2 การก่อตัวและโครงสร้างของระบบ จะมีผู้นำาเป็นจุดศูนย์กลาง ไม่ใช่กลุ่มผู้นำาเป็นคนที่
ทำาให้เกิดความสัมพันธ์
4.3 ความสัมพันธ์ในระบบนี้ เป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง และเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง
คนสองคน ในความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์และลูกน้องนี้ ถ้าจะมีความรู้สึกร่วมกันระหว่าง
ลูกน้อง ก็เป็นเพราะว่าเขาต่างถือว่ามีนายคนเดียวกัน
4.4 ผลประโยชน์ที่ทำาให้ผู้อุปถัมภ์และลูกน้องมีความสัมพันธ์ต่อกัน เป็นความสัมพันธ์
เฉพาะเจาะจงมากกว่าผลประโยชน์ร่วมแบบกลุ่ม วัตถุประสงค์ที่ผู้อุปถัมภ์และลูกน้อง
คงความสัมพันธ์ต่อกันไว้ ได้แก่ การแสวงหาผลประโยชน์ของแต่ละคน
4.5 ผลประโยชน์ที่แต่ละคนแสวงหา ผันแปรไปตามความแตกต่างทางฐานะและอำานาจ เช่น
ผู้อุปถัมภ์ต้องการอำานาจ และชื่อเสียงเกียรติยศ ส่วนลูกน้องต้องการความคุ้มครองและ
เงิน เป็นต้น
4.6 สายใยแห่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้องแต่ละคน ขึ้นอยู่กับการตอบแทน
ซึ่งกันและกัน โดยแต่ละฝ่ายต้องพยายามทำาให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เขายังมีค่าแก่การที่
เป็นผู้อุปถัมภ์หรือลูกน้อง
4.7 ความสัมพันธ์แบบนี้ มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง และไม่มั่นคง
4.8 ความสัมพันธ์แบบนี้ มักประกอบไปด้วย การมีลูกน้องมากมายหลายชั้น ตั้งแต่ชั้นที่
ใกล้ชิดผู้อุปถัมภ์มากที่สุดไปจนถึงผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกันเพียงเล็กน้อย ลูกน้องที่ใกล้ชิด
เจ้านายมากก็มักจะมีลูกน้องของตนเองด้วย ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้อุปถัมภ์ย่อยๆ เช่นกัน
ส่วน Barend J. Terwiel (1984) ได้นำาเสนอความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย
ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ไม่ใช่เรื่องของความถูกต้องหรือไม่ถูกกฎหมาย เมื่อผู้อุปถัมภ์หรือผู้ถูกอุปถัมภ์
ไม่ได้ทำาตามหน้าที่ก็ไม่สามารถนำามาลงโทษตามกฎหมายได้ โดยอุดมการณ์แล้ว ผู้อุปถัมภ์นั้นเป็นผู้ปกป้อง
คุ้มครอง ให้ความมั่นใจ และความเชื่อมั่นแก่ผู้ถูกอุปถัมภ์ และในขณะเดียวกันผู้ถูกอุปถัมภ์ก็ต้องซื่อสัตย์
เชื่อฟัง และให้ความช่วยเหลือผู้อุปถัมภ์โดยไม่ต้องขอร้อง รูปแบบของผู้อุปถัมภ์กับผู้ถูกอุปถัมภ์ มีการ