Page 44 - kpiebook63031
P. 44

43








                          การรวมกลุ่มของชาวไร่ชาวนา และกรรมกรในรูปสมาคม หรือสหพันธ์ แสดงให้เห็นจิตสำานึก

                  ของการรวมตัวกันทางชนชั้น ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ให้กำาเนิดชนชั้นล่างและชนชั้น
                  กลางที่เด่นชัดยิ่งขึ้น งานวิจัยกลุ่มชนชั้นต่างๆ จึงเป็นที่สนใจของนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์มากขึ้น

                  เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ เรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำาวันของคนไทยโดยตลอด ทั้งคำาว่า “เจ้าพ่อ”
                  “เจ้านาย-ลูกน้อง” “ลูกพี่-ลูกน้อง” “ผู้มีอิทธิพล” “หัวคะแนน” “การซื้อเสียง” ที่เราให้เรียกบุคคลบางคน

                  หรือบางกลุ่ม ก็เป็นคำาที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับลักษณะของความสัมพันธ์แบบ “ผู้อุปถัมภ์-ผู้รับอุปถัมภ์”
                  โดยตรงและโดยอ้อมแทบทั้งสิ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษาในครั้งนี้ (อมรา พงศาพิชญ์ และ

                  ปรีชา คุวินทร์พันธุ์, 2545, น. 1-7)


                          ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์(Patron-Client Relationship) เป็นรากฐานสำาคัญของการจัดองค์การ
                  ของสังคมไทย(Social Organization) มาแต่โบราณ ระบบศักดินาหรือระบบไพร่เป็นระบบที่กำาหนด

                  ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ระหว่างไพร่กับมูลนาย มูลนายไม่เพียงแต่จะต้องการความสวามิภักดิ์จากไพร่
                  เท่านั้น หากยังหาผลประโยชน์ด้วยการดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐกิจ(Economic Surplus)จากไพร่อีกด้วย

                  ในขณะเดียวกันมูลนายก็ให้การอุปถัมภ์ทางการเมือง(Political Patronage) และการอุปถัมภ์ทางเศรษฐกิจ
                  แก่ไพร่เป็นการตอบแทน ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ดังกล่าวนี้ยังคงสืบทอดต่อมา เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลง

                  รูปแบบเท่านั้น (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, 2546, น. 97-98) โดยแบบแผนของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์
                  จะแตกต่างไปตามระบอบการเมืองการปกครอง ในช่วงที่ระบบการเมืองการปกครองมีลักษณะเผด็จการ/

                  คณาธิปไตย ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ที่สำาคัญที่สุดก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำาทางการเมืองกับ
                  ฐานกำาลังทางทหาร (ประเทือง ม่วงอ่อน, 2547, น. 141)




                          ชัยอนันต์ สมุทวนิช (2523, น. 14-15) เห็นว่า ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นเพราะ
                  ในสังคมมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย ทั้งทางด้านสถานภาพทางสังคม ความมั่งคั่ง และอำานาจ เน้น

                  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งบุคคล 2 คนนี้ ต่างช่วยเหลือเกื้อกูล
                  ซึ่งกันและกัน โดยบุคคลแต่ละคนในสังคมมีอิสระที่จะเลือกลูกน้องและยังมีอิสระในการกำาหนดจำานวน

                  บุคคลที่เขาจะมีความสัมพันธ์ด้วย มีอิสระในการเลือกว่า เมื่อใดจะสิ้นสุดความสัมพันธ์ ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า
                  ความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง และมีลักษณะพิเศษ ดังนี้


                          1.  มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินร่วมกัน โดยแต่ละคนต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

                          2.  เนื่องจากลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ของแต่ละคู่สัมพันธ์แตกต่างกัน จึงมีการให้ประโยชน์
                              เป็นพิเศษต่อบางคนมากกว่าคนอื่นๆ

                          3.  ความสัมพันธ์เช่นนี้ มีลักษณะเปราะบาง เพราะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าหลักการ ดังนั้น

                              การจะรักษาเสถียรภาพของความสัมพันธ์ไว้ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ต่อกัน

                              อย่างต่อเนื่อง บุคคลแต่ละคนต่างมีของที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีและของที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีนั้น
                              เป็นสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49