Page 40 - kpiebook63031
P. 40
39
1.3 กลุ่มแนวคิดที่ศึกษำสภำพกำรเมืองในอีสำน
ที่สำาคัญ คืองานของ Frank C. Darling เรื่อง “Rural Insurgencies in Thailand : A Comparative
Analysis” (1975) งานชิ้นนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการต่อต้านรัฐบาลในชนบทที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ภาคเหนือ
และภาคอีสาน และเป็นการวิเคราะห์ถึงการแทรกแซงจากต่างประเทศที่ก่อการต่อต้านรัฐบาลในท้องถิ่นต่างๆ
ด้วย ส่วนการอธิบายในงานชิ้นนี้ที่สำาคัญอย่างหนึ่งกล่าวไว้ว่า ในขบวนการต่อต้านรัฐบาลในภาคอีสาน
ไม่เคยประกาศเจตนารมณ์ที่จะแบ่งแยกดินแดนเหมือนในภาคใต้ และไม่เคยประกาศเจตนารมณ์ที่จะแยก
ภาคอีสานเพื่อเข้าไปผนวกกับประเทศใกล้เคียง และมองว่าเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่การแสวงหาความอิสระ
ในการปกครองและตัดสินใจในท้องถิ่นและเรียกร้องความช่วยเหลือในการพัฒนาจากรัฐบาลกลางมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในงานนี้ชี้ให้เห็นว่า การต่อต้านรัฐบาลในชนบทของทั้งสามภาคไม่มีที่ไหนเลยที่มีศักยภาพ
แห่งการขยายตัวมากเพียงพอที่จะเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของไทย
2. แนวคิดนักกำรเมือง
นักการเมือง คือ บุคคลที่ใช้และมีอำานาจทางการเมืองมากกว่าคนอื่นๆ ในสังคม อำานาจ
ทางการเมืองนั้นเกี่ยวกับการแจกแจงค่านิยมที่หายากในระบบการเมือง (Zonis, 1971, p.5)
Arnold Wehmhoener ได้ให้คำาจำากัดความเกี่ยวกับนักการเมือง โดยเน้นบทบาทของนักการเมืองว่า
เป็นผู้กำาหนดวัฒนธรรม หรือเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในตำาแหน่งระดับสูงของโครงสร้างสังคมนั้นๆ หรือ นักการเมือง
หมายถึง กลุ่มบุคคลซึ่งมีอำานาจสูงสุดในแต่ละสังคมใดสังคมหนึ่ง โดยมีตำาแหน่งหน้าที่สำาคัญและ
มีชื่อเสียง อาจรวมถึงบุคคลหลายอาชีพด้วยกัน บุคคลที่มีตำาแหน่งสูงมีอำานาจหน้าที่ราชการ ซึ่งเป็น
บุคคลกลุ่มน้อยในสังคมและเป็นผู้ควบคุมทรัพย์สินส่วนใหญ่ หรือมีสถานภาพสังคมในระดับสูง หรือเป็น
ผู้มีอิทธิพลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในกระบวนการตัดสินใจที่มีผลต่อสมาชิกของสังคม (Wehmhoener,
1975, p.3)
Gaetano Mosca ได้กำาหนดความแตกต่างระหว่างนักการเมือง หรือผู้ที่เป็นชนชั้นปกครอง
หรือผู้นำาทางการเมือง (elite) กับประชาชนทั่วไป (masses) ว่า ในความเป็นจริงที่แน่นอนและมีแนวโน้มว่า
จะต้องได้พบในองค์กรการเมืองทุกแห่ง สิ่งหนึ่งที่ปรากฏชัดในทุกสังคมที่ล้าหลังหรือจะเป็นสังคมที่มี
ความเจริญก้าวหน้าเพียงใด จะมีบุคคลในสังคมอยู่ 2 พวก คือ ชนชั้นผู้ปกครอง กับชนชั้นผู้ถูกปกครอง
พวกแรกมีจำานวนน้อยแต่ควบคุมหน้าที่ทางการเมือง ผูกขาดอำานาจและเป็นผู้ที่ได้เปรียบจากผลที่อำานาจ
นำามาให้ ส่วนพวกที่สอง เป็นพวกที่มีจำานวนมากกว่าพวกแรก แต่กลับถูกบงการและควบคุมโดยพวกแรก
ในลักษณะที่เป็นการควบคุมทางกฎหมาย การตัดสินชี้ขาด และการอาศัยความรุนแรงทั้งมากและน้อย
(Mosca, 1965, p.50)