Page 16 - kpiebook63023
P. 16

16   ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)






                      4) ประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง (Direct / Participatory Democracy)


                      •   เป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อำานาจโดยตรงไม่ต้องผ่านผู้แทน เช่น อำานาจในการเสนอ
                          ร่างกฎหมาย อำานาจในการถอดถอนหรือตรวจสอบฝ่ายบริหาร ปัจจุบันประเทศประชาธิปไตย

                          ต่าง ๆ เริ่มหันมาให้ความสนใจประชาธิปไตยประเภทนี้มากขึ้น ดังนั้นหัวใจของประชาธิปไตย

                          ไม่ใช่การเลือกตั้งเท่านั้น แต่เป็นการให้ประชาชนไปมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงมากขึ้น

                      •   ประเทศไทยมีการใช้ประชาธิปไตยทางตรง เพราะที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วม

                          ทางการเมืองเพียงการลงคะแนนเสียง และเพื่อเป็นการแก้ไขข้องจำากัดของระบอบประชาธิปไตย
                          แบบเป็นตัวแทน ตั้งแต่รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 เป็นต้นมาจนปัจจุบัน มีบทบัญญัติหลายประการ
                          ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงหลายประการ เช่น การกำาหนดให้ประชาชน

                          เข้าชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา การเข้าชื่อเสนอร่างข้อบัญญัติ

                          ท้องถิ่น และถอดถอนนักการเมืองในกรณีของระดับท้องถิ่น รวมทั้งการกำาหนดให้หน่วยงานของ
                          รัฐต้องมีการให้ข้อมูลและจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำานโยบายและโครงการ
                          ที่มีผลกระทบต่อประชาชน เป็นต้น


                      5) ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy)


                      •   เป็นระบอบประชาธิปไตยที่ให้ความสำาคัญกับวิธีการได้มาซึ่งฉันทามติหรือข้อสรุปที่ทุกฝ่าย
                          ยอมรับร่วมกัน โดยเน้นความเท่าเทียมของโอกาสที่จะตัดสินใจและแสดงความคิดเห็น ไม่ถูกกดดัน

                          หรือครอบงำาจากผู้เห็นต่าง เน้นการให้เหตุผล (reasoning) ไม่ใช่การต่อรอง (negotiate) ทั้งนี้
                          ในการพูดคุยหารือจะถือว่าแต่ละฝ่ายมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ต่างฝ่ายต่างอภิปราย

                          ด้วยเหตุและผลเพื่อแสดงจุดยืนทางความคิดของตน แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะยอมรับ
                          และร่วมมือในผลลัพธ์ของการอภิปราย หลักที่สำาคัญอีกประการ คือ การปรึกษาหารือ การชั่งนำ้าหนัก

                          ของเหตุผล และการยอมรับหรือไม่ยอมรับแนวทางที่แต่ละฝ่ายเสนอ ซึ่งต้องกระทำาแบบ
                          เปิดเผยและเป็นสาธารณะ (public act) อันเป็นบรรยากาศที่เอื้อต่อการแสดงความคิดเห็น

                          ซึ่งตรงกันข้ามกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่กระทำาเพียงชั่วครู่และเป็นความลับ หลักเน้น
                          ข้อสุดท้ายคือประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเน้นการสื่อสารระหว่างกัน ในระบบนี้ทุกคนจะ

                          เท่ากัน จะไม่ถือว่าใครใหญ่กว่าใคร เสียงส่วนน้อยจะได้รับความสำาคัญ เสียงส่วนใหญ่จะไม่
                          กดทับเสียงส่วนน้อย แต่เป็นการคุยกันด้วยเหตุผล ซึ่งท้ายที่สุดแล้วข้อสรุปนั้นทุกฝ่ายจะยอมรับ

                          ร่วมกันเพราะต่างได้แสดงเหตุผลและยอมรับในกติกาที่ดำาเนินมาตั้งแต่ต้นจนจบ

                      •   ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือสามารถกระทำาได้หลายรูปแบบ เช่น กระบวนการลูกขุนพลเมือง

                          (Citizen Jury) ซึ่งเป็นการพูดคุยปรึกษาหารือแบบกลุ่มคนขนาดเล็กประมาณ 12 – 24 คน
                          ขนาดของปัญหาอาจจะไม่เป็นประเด็นที่ใหญ่มาก ต้องการความรวดเร็วในการหาทางออก

                          สภาพลเมือง (Citizens Assemblies) ซึ่งเป็นการปรึกษาหารือแบบกลุ่มขนาดกลางไม่เกิน 100 คน
                          บางครั้งอาจต้องประชุมหลายรอบและนานหลายเดือนเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ลงตัวที่สุด หรืออาจ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21