Page 13 - kpiebook63023
P. 13

13








                             ชาล์ส อี เมอเรียม (C.E.Merriam) เน้นว่า ประชาธิปไตยเป็นแนวคิด และการปฏิบัติที่มุ่งไปสู่

                  ความผาสุกร่วมกันของประชาชน โดยมีเจตนาร่วมกันของประชาชนนั่นเองเป็นเครื่องนำาทาง


                             ฮาโรลด์ ลาสกี้ (H.J. Laski) มองว่าเนื้อแท้ของประชาธิปไตยก็คือ ความปรารถนาของมนุษย์ที่จะ
                  ยอมรับนับถือและรักษาไว้ซึ่งความสำาคัญของตนเอง รวมตลอดถึงความเสมอภาคระหว่างบุคคลในทางเศรษฐกิจ

                  สังคม และการเมือง


                             การแยกแยะแนวทางการให้ความหมายของคำาว่าประชาธิปไตยข้างต้นสะท้อนให้เราเห็นหลักการ
                  เดียวกันของประชาธิปไตย คือ หลักการอำานาจของประชาชน หากแต่มีจุดเน้นหรือจุดสำาคัญที่แตกต่างกัน เช่น
                  ประชาธิปไตยในฐานะรูปแบบการเมืองการปกครองให้ความสำาคัญกับวิธีการเลือกและจำากัดอำานาจผู้ปกครอง

                  รวมทั้งความสัมพันธ์อื่น ๆ ในขณะที่ประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิต มองว่ากระบวนการเลือกตั้งหรือตรวจสอบ

                  อำานาจผู้ปกครองเป็นเพียงวิธีการบรรลุเป้าหมายของการอยู่ร่วมกัน เป้าหมายของประชาธิปไตยอยู่ที่ให้ประชาชน
                  เข้ามีส่วนร่วมในการกำาหนดกติกาการอยู่ร่วมกัน พลเมืองที่มีการศึกษาและตื่นตัวถือเป็นหัวใจของประชาธิปไตย




                  1.2 หลำกหลำยรูปแบบกำรปกครองระบอบประชำธิปไตย





                             ต่อเนื่องจากความซับซ้อนของความหมายของประชาธิปไตยดังแสดงข้างต้น สิ่งที่น่าสนใจมาก
                  ขึ้นคือ รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ใช้กันในโลกยังมีความหลากหลาย มีการกล่าวว่าในอดีต

                  ที่ผ่านการถกเถียงหรือความขัดแย้งเกี่ยวกับประชาธิปไตยเป็นเรื่องของอุดมการณ์ หรือ การต่อสู้ระหว่างกลุ่ม
                  ‘เอา’ หรือ ‘ไม่เอา’ ประชาธิปไตย หากแต่วันนี้เป็นการถกเถียงของกลุ่มที่เห็นด้วยกับระบอบประชาธิปไตย

                  ด้วยกัน หากแต่ไม่มีข้อตกลงร่วมกันว่ารูปแบบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสังคมไทยควรเป็นอย่างไร


                             จากการสำารวจวรรณกรรมมีการแบ่งประเภทรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยหลายลักษณะ
                  เช่น การแบ่งรูปแบบประชาธิปไตยตามวิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย ประกอบด้วย 1) ประชาธิปไตย

                  ในยุคแรก (2500 ปีที่ผ่านมา) หรือ รูปแบบนครรัฐกรีกโบราณซึ่งเน้นประชาธิปไตยทางตรงหรือประชาชน
                  ปกครองตนเอง 2) ประชาธิปไตยในยุคที่สอง (ยุคกลาง - ยุคเรอเนสซองส์ หรือ เมื่อ 500 - 1000 ปีล่วงมา

                  แล้ว) ประชาธิปไตยมีลักษณะพหุนิยม กลุ่ม ชุมชน สมาคม สถาบัน ซึ่งมีความเป็นอิสระจากเมืองและมีส่วนร่วม
                  ในกิจการของบ้านเมือง และ 3) ประชาธิปไตยยุคที่สาม (ยุคสมัยใหม่) ซึ่งเริ่มจากปลายศตวรรษที่ 17

                                                               3
                  โดยให้ความสำาคัญกับประชาธิปไตยแบบตัวแทนมากขึ้น







                  3   รายละเอียดเกี่ยวกับวิวัฒนาการระบอบประชาธิปไตย อ่านเพิ่มเติมจาก อเนก เหล่าธรรมทัศน์. แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน:
                  สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18