Page 14 - kpiebook63023
P. 14
14 ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
หากประมวลรูปแบบระบอบประชาธิปไตยที่มีการใช้อยู่หลากหลาย จึงเลือกมานำาเสนอเฉพาะ
รูปแบบสำาคัญ ๆ ที่มักมีการกล่าวถึง คือ
1) ประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อ�านาจผ่านตัวแทน (Representative Democracy)
• เป็นรูปแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนไม่ได้ใช้อำานาจโดยตรง แต่ใช้อำานาจผ่านการเลือกตัวแทน
นั่นคือ ประชาชนเลือกตัวแทนเพื่อไปทำาหน้าที่แทนตนในการปกครอง เช่น การออกกฎหมาย
การตรวจสอบการทำางานของรัฐบาล รวมทั้งเป็นตัวแทนไปบริหารประเทศแทนเรา เพื่อผลประโยชน์
ของเรา
• หัวใจสำาคัญของประชาธิปไตยแบบตัวแทนคือการเลือกตั้ง เพราะถ้าได้ผู้แทนที่ดีมีคุณภาพ
คนเหล่านี้จะเข้าไปทำางานแทนเพื่อประโยชน์ของประชาชน ดังนั้นการพัฒนาประชาธิปไตยเน้น
การพัฒนาระบบการเลือกตั้งที่สามารถกลั่นกรองคนดีคนเก่งเป็นตัวแทนทำางานแทนประชาชน
อย่างไรก็ตามด้วยความสำาคัญของการเลือกตั้งส่งผลทำาให้บทบาทของประชาชนในระบอบ
ประชาธิปไตยรูปแบบนี้จำากัดอยู่ที่การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
• รูปแบบประชาธิปไตยแบบผ่านตัวแทนเป็นรูปแบบที่แพร่หลายในประเทศประชาธิปไตยทั่วไป
รวมทั้งประเทศไทย เพราะในความเป็นจริง ประชาชนทั้งหมดไม่สามารถเข้าไปใช้อำานาจปกครอง
โดยตรงได้ อย่างไรก็ตามประเทศที่ปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยแบบผ่านผู้แทนในแต่ละ
ประเทศยังมีความแตกต่างในรายละเอียด เช่น ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
หรือ ประชาธิปไตยที่ควบคุมตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
• รูปแบบประชาธิปไตยแบบเป็นตัวแทนคลายมนต์เสน่ห์ลงและเผชิญกับปัญหาหลายประการ
ประการแรก ประชาธิปไตยมีความหมายแคบเท่ากับการเลือกตั้ง ประการที่สอง ประชาชน
เสื่อมศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย ไม่สนใจทางการเมือง เพราะผู้แทนของประชาชนไม่ได้มี
ความรับผิดชอบต่อประชาชนอย่างแท้จริง ประการที่สาม ประสบการณ์ความขัดแย้งระหว่าง
นักการเมือง ทุจริตทางการเมืองในการเลือกตั้งและการบริหารประเทศ เป็นต้น ประกอบกับ
กระแสของความถดถอยของประชาธิปไตยทั่วโลก (Democratic Recession) ที่เราเห็นการลดลง
ของระดับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มิใช่วิถีประชาธิปไตย
มากขึ้น จึงมีการตั้งคำาถามถึงการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตยในโลกสมัยใหม่กันมากขึ้น
2) ประชาธิปไตยที่ตรวจสอบควบคุมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Supervisory Democracy)
• เป็นประชาธิปไตยที่มีการใช้อำานาจผ่านตัวแทนแต่ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
เป็นผู้ที่มีความเป็นกลางทางเมืองมาคอยตรวจสอบควบคุมนักการเมืองอีกชั้นหนึ่ง