Page 19 - kpiebook63023
P. 19
19
ประการที่สอง ถึงแม้ประชาธิปไตยท้องถิ่นให้ความสำาคัญกับการให้ประชาชนเข้ามาร่วมแรงร่วมใจ
ในการตัดสินใจเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นได้โดยตรง หากแต่การมีส่วนร่วมของประชาชนนี้จะมีความหมายได้อย่างไร
ถ้าองค์กรหรือชุมชนท้องถิ่นไม่มีอำานาจอิสระในการตัดสินใจหรือมีทรัพยากรเพียงพอที่จะดำาเนินการด้วยตนเอง
หรือขึ้นอยู่กับการสั่งการจากรัฐบาล ดังนั้นความหมายของประชาธิปไตยท้องถิ่นย่อมไม่จำากัดเพียงช่องทางและ
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเท่านั้น ยังหมายรวมถึงความอิสระและความสามารถของท้องถิ่น ที่มาของ
ผู้บริหารและสภาท้องถิ่น รวมทั้ง การรวมกลุ่มทางสังคมซึ่งถือเป็นทุนทางสังคมที่เป็นเงื่อนของการเสริมสร้าง
พลเมืองคุณภาพอีกด้วย
Elliot Bulmer (2017) ในรายงานเรื่อง Local Democracy เผยแพร่โดย International IDEA
ให้ความหมาย ประชาธิปไตยท้องถิ่น คือ การปกครองตนเองของของนคร เมืองหรือชุมชนโดยวิถีประชาธิปไตย
โดยผ่านการเลือกตั้งฝ่ายบริหารและสภาท้องถิ่นโดยประชาชน สะท้อนความสำาคัญของการปกครองตนเอง
5
ของท้องถิ่นที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงและต้องมีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ประเด็นการมีตัวแทนจากการเลือกตั้งนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ยอดพล เทพสิทธิ (2558)
ในบทความเรื่อง หลักประชาธิปไตยท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นของฝรั่งเศส กล่าวว่า
6
หลักประชาธิปไตยท้องถิ่น (La démocratie locale) ประกอบไปด้วยสองหลักการที่สำาคัญ คือ 1) หลักการว่าด้วย
การมีผู้แทนและ 2) หลักการว่าด้วยการมีส่วนร่วม (RASERA Michel, 2002 : 11) ในส่วนของหลักการว่าด้วย
การมีผู้แทนนั้นถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 72 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับสาธารณรัฐที่ 5 ได้แก่ การที่พลเมือง
เลือกผู้แทนของตนเข้าไปเพื่อใช้อำานาจ และผู้แทนเหล่านั้นยังต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อพลเมืองอยู่ ในส่วน
ของการมีส่วนร่วมนั้นคือพลเมืองสามารถเข้าไปมีส่วนในการโต้เถียงสาธารณะ หลักการประชาธิปไตยท้องถิ่น
ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น การกำาหนดให้กิจกรรม
บางประเภทของท้องถิ่นต้องผ่านการปรึกษาหารือจากประชาชนก่อนหรือการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามี
ส่วนร่วมในการตัดสินใจรวมทั้งการเชิญผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาให้ข้อมูล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือหลักประชาธิปไตย
ท้องถิ่นนั้น เป็นหลักในการเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ของท้องถิ่น โดยถือว่า
ประชาชน เป็นผู้เล่นที่สำาคัญในกิจกรรมของท้องถิ่น
สมาคมยุโรปเพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (European Association for local democracy)
ให้ความหมายประชาธิปไตยท้องถิ่นว่าเกี่ยวข้องกับสิทธิและความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ภายใต้กรอบกฎหมาย) ในการกำาหนดกฎกติการวมทั้งการจัดการเรื่องที่สำาคัญ ๆ ของกิจกรรมสาธารณะ
สิทธิดังกล่าวข้างต้นหมายรวมถึงการได้มาของสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยลับของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และ
ยึดหลักการของ “เริ่มต้นที่ท้องถิ่น” (principle of subsidiarity) ซึ่งถือว่าการตัดสินใจและการกระทำาการใดๆ
ที่เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณะจะต้องเกิดขึ้นภายใต้กลไกที่มีอยู่ใกล้ชิดกับพลเมืองในชุมชนท้องถิ่น
5 International Institute for Democracy and Electoral Assistance (International IDEA). (2015).
Local Democracy. 2 ed. Stockholm: International IDEA. p 3.
nd
6 ยอดพล เทพสิทธิ. (2558). หลักประชาธิปไตยท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นของฝรั่งเศส.
วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2558) : 123 - 145.