Page 15 - kpiebook63023
P. 15

15








                          •   ประชาธิปไตยแบบตรวจสอบสะท้อนความไม่ไว้วางใจการเลือกตั้งของประชาชน และไม่ไว้วางใจ

                              นักการเมือง จึงเพิ่มกลไกการตรวจสอบถ่วงดุล


                          •   ประเทศไทยมีการใช้ประชาธิปไตยรูปแบบนี้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาโดยกำาหนดให้
                              มีองค์กรอิสระหลายองค์กรขึ้นมาทำาหน้าที่ตรวจสอบ เช่น คณะกรรมการเลือกตั้ง คณะกรรมการ

                              ศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้มักเป็น
                              ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากการสรรหาไม่ใช่การเลือกตั้ง


                          3) ประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (Constitutional Monarchy Democracy)


                          •   เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเพียงประมุขแห่งรัฐ ไม่มีหน้าที่
                              ในการบริหารบ้านเมืองแบบประเทศ ไม่มีอำานาจการออกนโยบายสาธารณะ ทั้งยังถูกจำากัดอำานาจ

                              ภายใต้รัฐธรรมนูญอันถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ประชาชนยังคงมีสิทธิ

                              ที่จะเลือกผู้แทนหรือนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้ามาบริหารประเทศอยู่ ฐานะของพระมหากษัตริย์
                              ในระบอบนี้ต่อรัฐบาลเป็นเพียงผู้แสวงหาคำาปรึกษา ประทานคำาปรึกษา และประธานคำาตักเตือน
                              เป็นสิทธิของรัฐบาลภายใต้รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งว่าจะดำาเนินการตามคำาแนะนำาของกษัตริย์

                              หรือไม่ ประเทศที่ใช้การปกครองในระบอบนี้ เช่น สหราชอาณาจักร สเปน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม

                              ประเทศแถบสแกนดิเนเวียร์ ญี่ปุ่น ไทย และประเทศล่าสุดที่เพิ่งเปลี่ยนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                              มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคือ ภูฏาน ในปี ค.ศ. 2013


                          •   สำาหรับประเทศไทย กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติอำานาจบางประการของพระมหากษัตริย์
                              ที่สามารถทำาได้ เช่น ทรงใช้อำานาจผ่านนิติบัญญัติ คือ ในขั้นสุดท้ายของการออกกฎหมายใด ๆ

                              ก็ตาม รัฐสภาจะทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมาย หากมิเช่นนั้น
                              จะถือเป็นกฎหมายที่บังคับใช้มิได้ ทรงใช้อำานาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี หมายความว่า

                              การบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีนั้นกระทำาในพระปรมาภิไธยของ
                              พระมหากษัตริย์ และเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในฐานะที่จะต้อง

                              กราบบังคมทูลและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในการบริหารราชการแผ่นดิน และทรงใช้
                              อำานาจตุลาการผ่านทางศาล หมายถึง กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายรองตามลำาดับถูกตราและ

                              ลงพระปรมาภิไธยโดยพระมหากษัตริย์ ดังนั้นผู้พิพากษาและตุลาการศาลจึงมีหน้าที่พิพากษาคดี
                              ความต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น นอกจากนี้ยังทรงไว้ซึ่งพระราชอำานาจในการแต่งตั้งและ

                              การพ้นจากตำาแหน่งของผู้พิพากษาและตุลาการ โดยก่อนเข้ารับหน้าที่ผู้พิพากษาและตุลาการ
                              จะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์อันถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติด้วย อีกทั้งยังบัญญัติ

                              พระราชอำานาจอื่น ๆ ไว้ด้วย เช่น การทำาสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก สนธิสัญญาอื่น ๆ
                              กับนานาประเทศ การพระราชทานอภัยโทษ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20