Page 18 - kpiebook63023
P. 18
18 ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
1.3 ประชำธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
จากความหมายและรูปแบบของประชาธิปไตย ส่วนนี้จะนำาเสนอความหมายและองค์ประกอบ
ของประชาธิปไตยท้องถิ่น ซึ่งมีสาระสำาคัญดังนี้
ประการแรก การเข้าใจประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy) จำาเป็นต้องตระหนักว่าถึงแม้อยู่
บนหลักการของอำานาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชน แต่ประชาธิปไตยระดับชาติและประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นมีจุดเน้น
ที่แตกต่างกัน ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ แบ่งประชาธิปไตยออกเป็น 2 ระดับ คือ ประชาธิปไตย
ระดับชาติซึ่งที่ประชาชนใช้การเลือกตัวแทนไปใช้อำานาจปกครองแทนตนเอง (representative government)
ในขณะที่ประชาธิปไตยท้องถิ่นอยู่ที่เรื่องการให้ความสำาคัญกับหลักการที่ว่าด้วย “การปกครองตนเอง” (self-
government democracy) หลักการสำาคัญของประชาธิปไตยท้องถิ่นอยู่ที่เรื่อง “การปกครองตนเอง” ซึ่งเป็น
เรื่องของการมีสิทธิและเสรีภาพในการกำาหนดชีวิตของตนเองอย่างมากที่สุด ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายของรัฐนั้น ๆ
ได้ให้ไว้กับประชาชนในท้องถิ่น คุณลักษณะสำาคัญของประชาธิปไตยที่ประชาชนปกครองตนเอง ประกอบด้วย
• ประชาธิปไตยที่ประชาชนปกครองตนเองไม่ได้เน้นที่การเลือกตั้งหรือการเลือกให้ได้คนดี แต่เป็น
การให้ประชาชนปกครองโดยตนเอง ซึ่งหมายถึงการที่ประชาชนร่วมแรงร่วมใจในการทำาอะไร
สร้างอะไร เพื่อบ้านเมือง เพื่อชุมชน ด้วยตนเอง
• หัวใจสำาคัญของรูปแบบนี้คือการมองว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องของการเลือกตั้ง การแข่งขัน
และการแบ่งสรรผลประโยชน์ แต่การเมืองคือเรื่องของการร่วมกันทำาประโยชน์ให้ส่วนรวม
ให้เสียสละเพื่อส่วนรวม ให้มีความสามัคคี ดังนั้นการเมืองการปกครองไม่ใช่เรื่องนักการเมือง
และข้าราชการเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของประชาชนด้วย 4
• รูปแบบนี้มีความใกล้เคียงกับรูปแบบประชาธิปไตยทางตรงหรือแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตย
แบบปรึกษาหารือที่เน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสร้างบ้านสร้างเมืองโดยตรง ให้ความสำาคัญ
กับระบบอาสาสมัครและสร้างความเป็นพลเมือง
• ความหมายของประชาธิปไตยท้องถิ่นในมุมนี้คือประชาธิปไตยในระดับรากฐานของสังคม
เพราะประชาชนในท้องถิ่น สามารถเรียนรู้และทำาความเข้าใจวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย ได้จาก
การเข้ามีส่วนร่วมในการจัดทำากิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำาวันได้โดยตรง
ดังเช่น การรวมกลุ่มชาวบ้านในท้องถิ่น เพื่อตัดสินใจทำาโครงการพัฒนาท้องถิ่นของตน ไม่ว่าจะเป็น
การทำาถนนเข้าหมู่บ้าน การสร้างบ่อกำาจัดขยะฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีโอกาสกระทบต่อ
การดำารงชีวิต หรือมีความใกล้ตัวชาวบ้านในท้องถิ่นได้มาก
4 อ่านความคิดประชาธิปไตยที่ประชาชนปกครองตนเองเพิ่มเติมจาก อเนก เหล่าธรรมทัศน์. แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน:
สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.