Page 17 - kpiebook63023
P. 17
17
จะใช้เวทีอภิปรายประเด็นปัญหา (Issues Forum) ใช้ผู้เข้าร่วม 10 - 100 คน ระยะเวลา 1 วัน
ก็ถือเป็นทางออกที่ดี รวดเร็ว แต่ต้องอาศัยการออกแบบขั้นตอนที่ดีเช่นกันเพื่อให้ทุกฝ่าย
ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และอีกรูปแบบหนึ่งคือ การประชุมเมือง (Town
Meeting) อันเป็นกลุ่มปรึกษาหารือขนาดใหญ่มาก รับรองผู้เข้าร่วมนับพันคน เป็นรูปแบบ
ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) ที่ใช้มาตั้งแต่กรีกยุคโบราณ และกำาลังได้รับความนิยม
ในหลายเมือง อย่างไรก็ตามรูปแบบประชุมเมืองอาจทำาได้ยากในปัจจุบันเนื่องจากทุกวันนี้
เมืองมีขนาดใหญ่ ประชากรมาก และความหลากหลายสูง
6) ประชาธิปไตยแบบสมานฉันท์ (Consensus Democracy)
• เป็นระบอบประชาธิปไตยที่นำารูปแบบของการปรึกษาหารือเพื่อหาฉันมามติร่วมกันมาปรับใช้ใน
การปกครอง ลักษณะเน้นคือการให้ความสำาคัญกับเสียงข้างน้อยในสังคมซึ่งแตกต่างจากประชาธิปไตย
แบบเสียงข้างมาก (Majoritarian Democracy) ซึ่งแบบหลังนี้มักใช้ในสังคมที่มีความเป็นเอกภาพสูง
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มักจะมีความคิด คำาพูด การกระทำา การตัดสินใจที่มีแนวโน้มไปทาง
เดียวกัน ในขณะที่ในสังคมอันมีความแตกต่างหลากหลาย (Pluralism) อยู่มาก เช่น พื้นที่ที่มีหลาย
ชนชาติอาศัยอยู่ ความเหลื่อมลำ้าสูง หรือมีความแตกต่างทางความคิดสูง เสียงข้างน้อยของสังคม
ก็จะถูกละเลยโดยกลุ่มที่มีอำานาจทางสังคมสูงกว่าได้ง่าย ประชาธิปไตยแบบสมานฉันท์จึงถูกนำามาใช้
เพื่อรับความคิดที่แตกต่างหลากหลายจากกลุ่มคนทุกระดับ ทุกเชื้อชาติ หรือทุกสาขาอาชีพและ
ช่วงวัยมาคำานวณหรือพิจารณาให้ได้มากที่สุด เพื่อหา “ฉันทามติ” หรือ “เสียงอันเป็นเอกฉันท์”
อันเป็นทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับแม้ว่าอาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดแต่สำาคัญที่สุดตรงที่ทุกฝ่าย
ที่ร่วมกันออกความเห็นต่างยอมรับมัน
• ประชาธิปไตยแบบสมานฉันท์ไม่เน้นการลงคะแนนเสียง แต่เน้นการ “ฟังเสียง” จากหลายทาง
กระบวนการจึงเน้นการถกอภิปรายโดยการรวมคนทุกกลุ่ม (inclusive) มากกว่าการหย่อนบัตร
เพื่อเร่งด่วนหาข้อสรุป เน้นการเปิดช่องทางให้มีส่วนร่วม (participatory) ยอมรับและรับฟัง
เมื่อกลุ่มอื่นแสดงความคิดเห็นที่ต่างจากตน ต้องร่วมด้วยช่วยกันในการเสนอทางเลือก หากกลุ่มใด
มีความคิดคล้ายกันก็อาจจะปรึกษาหารือเพื่อหาฉันทามติย่อยในกลุ่มตนก่อน แล้วจึงนำา
ฉันทามตินั้นไปถกในกลุ่มใหญ่อีกทีหนึ่ง อย่างไรก็ตามไม่ควรนำาความต้องการเฉพาะกลุ่มของตน
มานำา (dominate) เพื่อกดดันความคิดของกลุ่มอื่น ต้องอาศัยความเกื้อกูลและมุ่งหวังที่ประโยชน์
ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนเพื่อหาทางออกและหาข้อตกลงร่วมกันร่วมกัน
• ระบบนี้สามารถนำามาใช้ร่วมกันระบบประชาธิปไตยแบบผู้แทน (Representative Democracy) ได้
โดยอาจประชุมเพื่อปรึกษาหารือในเรื่องที่ต้องมีการนำาเสนอต่อสภา ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาระดับ
ประเทศหรือสภาท้องถิ่นก็สามารถนำามาใช้ได้ เพื่อให้ตัวแทนนั้นเป็นตัวแทนของเสียงประชาชน
เสียงของพื้นที่นั้น ๆ จริง ๆ แม้ว่าตัวผู้แทนจะไม่เห็นด้วยที่สุดต่อฉันทามตินั้น แต่ในเมื่อเป็น
ความต้องการร่วมกันของทุกกลุ่มก็ต้องยอมรับและพยายามอภิปรายเพื่อให้นโยบายหรือ
แนวคิดของฉันทามตินั้นบังเกิดผล