Page 20 - kpiebook63023
P. 20

20   ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)








             มากที่สุดก่อน เว้นเสียแต่กิจการดังกล่าวเกินศักยภาพและความสามารถของกลไกในระดับท้องถิ่นก็ให้กลุ่ม

             หรือองค์กรในระดับที่อยู่สูงถัดไปดำาเนินการแทน โดยนัยของความหมายนี้ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มี
             การแต่งตั้งผู้บริหารและสภาท้องถิ่นไม่ถือเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น เพราะเส้นทางของความพร้อมรับผิดชอบ

             (Accountability) ไม่ขึ้นต่อประชาชนหากแต่เป็นรัฐบาลที่แต่งตั้งตำาแหน่งเท่านั้น ขณะเดียวกันท้องถิ่นในฐานะ
             กลไกหรือสถาบันที่อยู่ในพื้นที่ควรมีอำานาจอิสระในการตัดสินใจและกระทำาต่าง ๆ ในพื้นที่ด้วย


                                                  7
                         วุฒิสาร ตันไชยและเอกวีร์ มีสุข  ในการพัฒนากรอบการศึกษาประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย เสนอว่า
             ควรพิจารณาจากสองแนวคิดคือ 1) แนวคิดประชาธิปไตยท้องถิ่น และ 2) แนวคิดชุมชน ภายใต้แนวความคิด
             ประชาธิปไตยท้องถิ่น ประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นไทยควรประกอบด้วย การให้อำานาจและความรับผิดชอบ

             แก่ประชาชน, การมีสถาบันและกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ, และ
             การที่ประชาชนมีวิถีดำาเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในกระบวนประชาธิปไตย สำาหรับแนวคิดชุมชนนั้นจะช่วย

             ส่งเสริมหลักประชาธิปไตยใน 3 ประการ คือ 1) แนวคิดชุมชนให้ความสำาคัญต่อผลประโยชน์ร่วมของส่วนรวม
             2) แนวคิดชุมชนช่วยส่งเสริมทุนทางสังคม (social capital) และ แนวคิดชุมชนส่งเสริมนโยบายสาธารณะ

             ชุมชนที่มีปะชาชนเป็นศูนย์กลาง


                         ประการที่สาม จากความหลากหลายของความหมายและความเห็นของนักวิชาการเกี่ยวกับ
             ประชาธิปไตยท้องถิ่นข้างต้น สามารถประมวลสาระสำาคัญและองค์ประกอบของประชาธิปไตยท้องถิ่นใน 3 มิติ
             ที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ดังแสดงในภาพ คือ


                           แผนภาพที่ 2 แสดง ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของประชาธิปไตยท้องถิ่น






                                                    การเลือกผู้แทน

                                               และความพร้อมรับผิดชอบ
                                                 ของผู้แทนต่อประชาชน





                                           ประชาชน                การส่งเสริม

                                         เข้ามามีส่วนใน     วิถีพลเมืองและบ่มเพาะ
                                       กิจกรรมสาธารณะ            ทุนทางสังคม

                                            โดยตรง





                                                     ที่มา : ผู้เขียน


             7    อ่านเพิ่มเติม วุฒิสาร ตันไชย และ เอกวีร์ มีสุข. (2559). การปฏิรูปสถาบันและกระบวนการเพื่อเสริมสร้าง
             ประชาธิปไตยทองถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. หน้า 42 – 56.
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25