Page 21 - kpiebook63023
P. 21

21








                          1.  ประชาธิปไตยท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับการเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้เลือกตัวแทน

                              เข้าไปทำาหน้าที่เป็นผู้บริหารและ/หรือสภาท้องถิ่น ภายใต้กลไกของความพร้อมรับผิดชอบ
                              (Accountability) ผู้แทนต้องมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน รัฐต้องมอบหมายให้องค์กร

                              ท้องถิ่นมีอำานาจอิสระในการตัดสินใจประเด็นที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นด้วยทรัพยากรที่เพียงพอ
                              ตามหลักการ “เริ่มต้นที่ท้องถิ่น”


                          2.  ประชาธิปไตยท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการตัดสินใจ

                              โดยตรงในกิจการสาธารณะของท้องถิ่น ผ่านการปรึกษาหารือ การถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูล
                              และความคิดเห็น ให้ประชาชนมาร่วมแรงร่วมใจในการทำางานเพื่อชุมชน เพื่อให้บริการสาธารณะ

                              เป็นเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยนัยยะนี้สอดรับกับประชาธิปไตยโดยประชาชน
                              ไม่ใช่ ประชาธิปไตยของประชาชนหรือเพื่อประชาชนเท่านั้น


                          3.  ประชาธิปไตยท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิถีพลเมืองและบ่มเพาะทุนทางสังคม (Social
                              Capital) ผ่านการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชมรมกีฬา กลุ่มผู้สูงอายุ

                              กลุ่มเยาวชน กลุ่มละแวกบ้าน และมีการชักชวนทำางานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การรวมกลุ่มทาง

                              สังคมเช่นนี้สามารถฝึกให้ประชาชนเรียนรู้การทำางานส่วนรวม เรียนรู้ความสัมพันธ์ในแนวราบ
                              สร้างเครือข่ายทางสังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน และพัฒนาความเป็นพลเมืองในที่สุด ซึ่งพลเมืองเหล่านี้
                              จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนรวมตามมิติที่สอง

                              ได้อย่างมีคุณภาพ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26