Page 26 - kpiebook63023
P. 26
26 ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
นอกจากนั้น การเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล
รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาของท้องถิ่น ส่งผลให้ประชาชนรู้สึกว่าตนมีความเกี่ยวพันกับส่วนได้ส่วนเสีย
ในการปกครอง การบริหารท้องถิ่น เกิดความรับผิดชอบ และหวงแหนต่อประโยชน์อันพึงมีต่อท้องถิ่น
ที่ตนอยู่อาศัย อันจะนำามาซึ่งความศรัทธาเลื่อมใสในระบอบการปกครองประชาธิปไตยในที่สุด การเรียนรู้
ความเป็นพลเมืองไม่สามารถทำาให้เกิดได้จริงในห้องเรียน หากแต่ต้องเป็นเรื่องของการมีประสบการณ์จริง
ความสำาคัญของการปกครองท้องถิ่นในฐานะเป็นโรงเรียนประชาธิปไตยนำาเสนอโดยนักวิชาการ
อาทิ เช่น นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส อเล็กซิส เดอ ท็อกเกอร์วิลล์ (Alexis de Tocqueville) ในผลงานเรื่อง
ประชาธิปไตยในอเมริกา (Democracy in America) ได้กล่าวว่า “ที่ประชุมของเมืองมีความหมายต่อเสรีภาพ
เสมือนกับโรงเรียนมีความหมายต่อการเรียนรู้ เพราะการประชุมเมืองนั้น ทำาให้ประชาชนมีโอกาสไขว่คว้า
หาเสรีภาพ สอนประชาชนให้รู้จักเสรีภาพ เช่นเดียวกับ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) เช่นกันชี้ให้เห็น
บทบาทของการปกครองท้องถิ่นในด้านให้การศึกษาทางการเมือง แมคดิก (H. Madd) เสริมว่าจุดประสงค์หลัก
ของการปกครองท้องถิ่นอยู่ที่การสร้างความเข้าใจทางการเมืองที่ดี ประชาชนจะสามารถเรียนรู้จากนักการเมือง
ลวงโลก ไม่เลือกผู้สมัครที่ขาดความสามารถ สามารถเรียนรู้การอภิปรายประเด็นต่างๆได้และเข้าใจงบรายจ่าย
9
กับรายได้และคิดเพื่ออนาคต สำาหรับ โกวิทย์ พวงงาม (2550) เชื่อว่า การปกครองท้องถิ่นเป็นรูปแบบพื้นฐาน
อย่างหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีความสำาคัญต่อการฝึกหัดประชาธิปไตย โดยเฉพาะแก่
ชุมชนท้องถิ่นที่จะได้มีส่วนร่วมในการตอบสนองปัญหาความเป็นอยู่และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง
ได้เป็นอย่างดี เพราะลำาพังเพียงรัฐบาลกลางไม่อาจดูแลตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาของประชาชน
ได้อย่างตรงใจและทั่วถึงอย่างแท้จริง
ประการที่สอง การปกครองท้องถิ่นเป็นแหล่งสร้างผู้นำาทางการเมือง (Political leadership)
การปกครองท้องถิ่นเป็นการเมืองสนามเล็ก บุคคลที่สนใจการเมืองสามารถใช้สนามระดับท้องถิ่นเป็นจุดเริ่มต้น
และเรียนรู้เพื่อเป็นนักการเมืองในระดับชาติต่อไป ผู้นำาหน่วยการปกครองท้องถิ่นย่อมเรียนรู้ประสบการณ์ทางการเมือง
การได้รับเลือกตั้งและการสนับสนุนจากประชาชนในท้องถิ่นย่อมเป็นพื้นฐานที่ดีต่ออนาคตทางการเมืองของตน
และยังฝึกฝนทักษะทางการบริหารงานในท้องถิ่นอีกด้วย ในประเทศไทย ผู้นำาทางการเมืองหลายท่าน สมาชิก
รัฐสภามากกว่าครึ่งล้วนแต่มีผลงานจากการเป็นนายกเทศมนตรี หรือผู้บริหารท้องถิ่นมาก่อน จนสามารถประสบ
ความสำาเร็จเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงในระดับชาติ สำาหรับผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปบริหารกิจการ ของท้องถิ่น
นับได้ว่าเป็นผู้นำาในท้องถิ่นจะได้ใช้ความรู้ความสามารถบริหารงานท้องถิ่น เกิดความคุ้นเคยมีความชำานิชำานาญ
ในการใช้สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง ซึ่งจะนำาไปสู่การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับชาติต่อไป
9 ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2545. 100 ปีการปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ.2440 – 2540. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
หน้า 42 – 47.