Page 30 - kpiebook63023
P. 30
30 ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลาย ย่อมมีอิสระในการกำาหนดนโยบายการปกครอง
การบริหารการบริหารงานบุคคล การเงิน และการคลัง และมีอำานาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ
รวมทั้งมีสภาท้องถิ่นและผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยรัฐบาลเป็นผู้กำากับดูแล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เท่าที่จำาเป็นภายในกรอบของกฎหมาย และเพื่อกระจายอำานาจให้แก่
ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังยึดมั่นในหลักการส่งเสริมประชาธิปไตย
ท้องถิ่น โดยกำาหนดในหมวดนโยบายแห่งรัฐและหมวด 14 รวม 10 มาตรา ตั้งแต่มาตรา 281
ถึงมาตรา 290 ได้ให้กระจายอำานาจและอิสระกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้
บัญญัติไว้ว่า
“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอ�านาจหน้าที่โดยทั่วไปในการดูแล และจัดท�าบริการ
สาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และย่อมมีความเป็นอิสระในการ ก�าหนดนโยบาย
การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอ�านาจหน้าที่
ของตนเองโดยเฉพาะ โดยต้องค�านึงถึงความสอดคล้องกับการพัฒนาของจังหวัด และประเทศ
เป็นส่วนรวมด้วย”
นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังคงให้สภาและ
ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้เปิดช่องทางให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอำานาจ
ในการบริหาร ตรวจสอบ และถ่วงดุลการจัดการในท้องถิ่น ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิมีส่วนร่วม
ในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้
มีวิธีการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าวได้ด้วย ในกรณีที่การกระทำาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำาคัญ
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2560 ให้ความสำาคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น
โดยปรากฏอยู่ใน 2 หมวด ได้แก่ หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ และหมวด 14 การปกครองส่วน
ท้องถิ่น
ประการแรก กำาหนดให้สภาท้องถิ่นและผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนี้
มาตรา 252 สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจาก
การเลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นหรือในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบพิเศษ จะให้มาโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องคำานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ทั้งนี้
ตามที่กฎหมายบัญญัติ