Page 32 - kpiebook63023
P. 32
32 ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
ในการจัดทำาบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะใดที่เป็นหน้าที่และอำานาจ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ้าการร่วมดำาเนินการกับเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐหรือ
การมอบหมายให้เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐดำาเนินการ จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่น
มากกว่าการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำาเนินการเอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมหรือ
มอบหมายให้เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐดำาเนินการนั้นก็ได้
รัฐต้องดำาเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ของตนเองโดยจัดระบบภาษี
หรือการจัดสรรภาษีที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำาเนินการตามวรรคหนึ่งได้อย่างเพียงพอ ในระหว่างที่ยังไม่อาจ
ดำาเนินการได้ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพลางก่อน
กฎหมายตามวรรคหนึ่งและกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการบริหาร การจัดทำาบริการสาธารณะ การส่งเสริม
และสนับสนุนการจัดการศึกษา การเงินและการคลัง และการกำากับดูแลองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นซึ่งต้องทำาเพียงเท่าที่จำาเป็นเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือ
ประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม การป้องกันการทุจริต และการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยคำานึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
และต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และการป้องกันการก้าวก่าย
การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการส่วนท้องถิ่นด้วย
มาตรา 251 การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามที่
กฎหมายบัญญัติ ซึ่งต้องใช้ระบบคุณธรรมและต้องคำานึงถึงความเหมาะสมและความจำาเป็นของแต่ละ
ท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ การจัดให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกันเพื่อให้
สามารถพัฒนาร่วมกันหรือการสับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันได้
จากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวของกับการปกครองท้องถิ่นไทยข้างต้น จะเห็น
ได้ว่า องค์กรปกครองท้องถิ่นไทย จัดตั้งขึ้น บนพื้นฐานของแนวความคิดในการพัฒนาระบอบ
การปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น