Page 37 - kpiebook63023
P. 37

37








                                   -  การประกาศให้ประชาชนทราบรายละเอียดการรับฟังความคิดเห็น ในการรับฟังความคิดเห็น

                                     ของประชาชน หน่วยงานของรัฐต้องประกาศให้ประชาชนทราบถึงวิธีการรับฟังความคิดเห็น
                                     ระยะเวลา สถานที่ ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ ที่เพียงพอแก่การที่ประชาชนจะเข้าใจ

                                     และสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ประกาศนี้ให้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่
                                     ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐและสถานที่ที่จะดำาเนินโครงการของรัฐนั้นเป็นเวลา

                                     ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดำาเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และให้ประกาศ
                                     ในระบบเครือข่ายสารสนเทศที่สำานักงานปลัดสำานักนายกรัฐมนตรีจัดให้มีขึ้นตาม

                                     ระเบียบนี้ด้วย

                                   -  ประกาศสรุปความคิดเห็นของประชาชน เมื่อดำาเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
                                     แล้ว ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำาสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และประกาศ

                                     ให้ประชาชนทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน



                          3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
                  พ.ศ. 2542


                           •  รัฐธรรมนูญพ.ศ.2560 รับรองสิทธิไว้ใน มาตรา 254 ความว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กร

                             ปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อกัน เพื่อเสนอข้อบัญญัติหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น
                             หรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ


                           •   การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำาเนินการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

                             เป็นการใช้สิทธิถอดถอน (recall) ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้การตรวจสอบ
                             ถ่วงดุลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทุกวันนี้ประชาชนชาวไทยต่างคุ้นชินกับการใช้อำานาจผ่านตัวแทน

                             แม้จะถือเป็นวิธีการที่ยอมรับทั่วไปในประเทศประชาธิปไตยทั่วโลก แต่ในความเป็นจริงแล้ว
                             กลับทำาให้เราห่างไกลการเมืองอันเป็นเรื่องของเราทุกคนยิ่งไปทุกวัน ๆ การใช้สิทธิถอดถอน

                             จึงเกิดขึ้นเพื่อให้เราสามารถใช้อำานาจตามหลักประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) และ
                             มีส่วนร่วมกับการเมืองการปกครองได้มากขึ้น การใช้สิทธิถอดถอนเป็นการคืนอำานาจการตัดสินใจ

                             ให้กับประชาชนว่าตนเห็นควรให้สมาชิกสภาท้องถิ่น รวมถึงผู้บริหารท้องถิ่น ต้องออกจากตำาแหน่ง
                             ก่อนครบวาระ เนื่องมาจากประชาชนเห็นว่าบุคคลผู้นั้นบริหารงานไม่โปร่งใส ไม่ดำาเนินการ

                             ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ทุจริตและเรียกรับผลประโยชน์จากประชาชน หรือดำาเนินการอื่น ๆ
                             ที่เห็นว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ฉ้อราษฎร์บังหลวง หากอยู่ในตำาแหน่งต่อไปยังแต่จะก่อ

                             ความเดือดร้อนมากกว่าความผาสุก
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42