Page 34 - kpiebook63023
P. 34

34   ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)








                      •  การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของรัฐให้ประชาชนได้รับรู้นั้นสามารถแบ่งออก

                         เป็น 3 ลักษณะวิธี คือ


                                  วิธีที่ 1 เปิดเผยโดยการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ โครงสร้างและการจัด
                        องค์กรในการดำาเนินงาน สรุปอำานาจหน้าที่ที่สำาคัญและวิธีการดำาเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับ

                        ข้อมูลข่าวสารหรือคำาแนะนำาในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ
                        คำาสั่ง หนังสือเวียน แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ทั้งนี้เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพ

                        อย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการ
                        ข้อมูลข่าวสารของราชการกำาหนด

                                  วิธีที่ 2 เปิดเผยวิธีจัดสถานที่ให้ประชาชนเข้าค้นคว้า ได้แก่ ผลการพิจารณา

                        หรือคำาสั่งวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์
                        ในราชกิจจานุเบกษา แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำาปีของปีที่กำาลังดำาเนินงาน

                        คู่มือหรือคำาสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของประชาชน
                        สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงตาม มาตรา 7 วรรคสอง สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการ

                        ผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำาบริการสาธารณะ มติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

                                  วิธีที่ 3 เปิดเผยโดยวิธีการให้ประชาชนมาร้องขอและหากข้อมูลข่าวสารนั้นไม่ใช่ข้อมูล
                        ข่าวสารที่ต้องปิดลับ ท้องถิ่นจะต้องจัดหาให้ประชาชน สำาหรับข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิด

                        ความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นจะเปิดเผยไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข่าวสารที่เข้าข่าย

                        ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำาสั่งห้ามมิให้เปิดเผยก็ได้


                      2. ระเบียบส�านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นประชาชน พ.ศ.2548


                      •  เป็นระเบียบฯ ที่บังคับใช้กับส่วนราชการ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการรับฟังความคิดเห็น

                         ของประชาชน คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นก่อนการออกกฎ คำาสั่ง

                         หรือการตัดสินใจของฝ่ายบริหารที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชน โดยส่วนมากจะเป็นเรื่อง
                         ที่เกี่ยวข้องกับการที่รัฐต้องการที่จะทำาโครงการหรือนโยบายที่มีผลกระทบได้เสียถึงประโยชน์
                         สาธารณะ ชุมชน หรือประชาชนเป็นจำานวนมาก


                      •  ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังระบุหน้าที่ของรัฐที่จะต้องเปิดให้มีการรับฟัง

                         ความคิดเห็นของประชาชนไว้ด้วย โดยใน มาตรา 77 ระบุว่า “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ
                         รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

                         อย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้น
                         ต่อประชาชน และนำามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมาย
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39