Page 33 - kpiebook63023
P. 33

33







                  3.2 กฎหมำยกับควำมโปร่งใสและกำรมีส่วนร่วมของประชำชน





                             นอกจากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ยังมีกฎหมายจำานวนมากที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม

                  ประชาธิปไตยท้องถิ่น ทั้งที่เป็นกฎหมายกลาง ใช้บังคับทุกส่วนราชการ และกฎหมายท้องถิ่นที่ใช้บังคับเฉพาะ
                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายที่สำาคัญมีดังนี้


                          1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540


                           •  พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารเป็นกฎหมายที่บังคับทุกส่วนราชการรวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                             ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งในการประกันในสิทธิของประชาชนเอง ในเรื่องสิทธิที่จะได้รับรู้ (Right to
                             Know) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในการตรวจสอบการใช้อำานาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                             หากหน่วยงานรัฐมีความจริงใจที่จะเปิดเผยการทำางานให้ประชาชนรู้ย่อมดีต่อทั้งตัวประชาชน
                             ที่อย่างน้อยก็รู้ว่ารัฐทำาอะไรให้ประชาชนบ้าง และขั้นตอนการดำาเนินงานไปถึงไหนแล้ว สิ่งเหล่านี้

                             เมื่อวันเวลาผ่านไปจะสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Sense of belonging) ให้เกิดขึ้นต่อประชาชน
                             ในฐานะพลเมืองของรัฐ และจะเป็นการปลูกฝังจิตสำานึกในการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน

                             กับหน่วยงานรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้นเรื่อย ๆ หน่วยงานรัฐเองก็ได้จะได้รับ
                             ความไว้วางใจจากประชาชน อันจะส่งผลให้การทำางานในอนาคตราบรื่น และได้รับความร่วม

                             มือจากประชาชนมากกว่าที่เป็นอยู่เดิม จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่ต้องเปิดเผย
                             ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน


                           •  พ.ร.บ. ฉบับนี้กำาหนดหลักการสำาคัญไว้ 2 ประการ ประการที่หนึ่ง ข้อมูลข่าวสารของราชการ

                             ที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐโดยหลักการแล้ว ต้องเปิดเผยทั้งสิ้น ซึ่งข้อมูลข่าวสาร
                             ประเภทนี้ กฎหมายบังคับให้ต้อง “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” เว้นแต่การเปิดเผย

                             นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ
                             ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ หรือการเปิดเผยนั้นจะทำาให้การบังคับใช้

                             กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่ง
                             บุคคลใด หรือมีกฎหมายคุ้มครองไว้ ประการที่สอง ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ

                             สิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น ประวัติการศึกษา ฐานะทางการเงิน ประวัติสุขภาพ ฯลฯ ที่อยู่ใน
                             ความครอบครองของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น จะเปิดเผยโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของ

                             ข้อมูลไม่ได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามอำานาจหน้าที่ของหน่วยงาน หรือการเปิดเผยนั้นเพื่อ
                             การป้องกันการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเป็นการเปิดเผยต่อศาล หรือตามที่

                             กฎหมายกำาหนด ข้อมูลประเภทนี้ กฎหมายให้ “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น”
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38