Page 29 - kpiebook63023
P. 29
29
ส่วนที่ 3
กำรสร้ำงประชำธิปไตยท้องถิ่น
ภำยใต้รัฐธรรมนูญไทย
3.1 รัฐธรรมนูญไทยกับกำรปกครองท้องถิ่น
ด้วยความสำาคัญของการปกครองท้องถิ่นต่อการพัฒนาประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญไทยมุ่งให้
ความสำาคัญต่อส่งเสริมประชาธิปไตยท้องถิ่นให้เป็นรากฐานประชาธิปไตยระดับชาติผ่านการปกครองท้องถิ่น
มีสาระสำาคัญดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำาคัญของการปกครอง
ท้องถิ่นไทย เพราะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น ส่งผล
ต่อสถานภาพของระบบการกระจายอำานาจไทยและสะท้อนเจตนารมณ์ที่ต้องการให้มีการปฏิรูป
การปกครองท้องถิ่น โดยได้กำาหนดไว้ใน หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 กำาหนด
ให้รัฐต้องกระจายอำานาจ ให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง พัฒนา
เศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
ในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อม ให้เป็นองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำานึงถึงเจตนารมณ์ ของประชาชนในจังหวัดนั้น
ในด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ได้กำาหนดไว้ในหมวด 9 รวม 9 มาตรา ตั้งแต่มาตรา 282 ถึงมาตรา 290 สรุปได้ว่า รัฐจะต้องให้
ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น ตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น