Page 12 - kpiebook63023
P. 12

12   ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)








                         ออสติน เรนเนีย (Austin Ranney) นักรัฐศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา จากผลงานหนังสือชื่อ

             The governing of men: an introduction to political science (1958) ได้ให้คำาจำากัดความว่า “ประชาธิปไตย
             เป็นรูปแบบการปกครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักการของการใช้อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty)

             ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) การปรึกษาหารือกับประชาชน หรือ การรับฟังความคิดเห็น
             จากประชาชน (Popular Consultation) และการปกครองโดยกฎหมายเสียงข้างมาก


                         พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำาว่า “ประชาธิปไตย” คือ “ รูปแบบ

             การปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”




                      3. ประชำธิปไตยในฐำนะเป็นวิถีกำรด�ำเนินชีวิต (Democracy as

             a way of life)




                         ในมิตินี้ประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงอุดมการณ์ ความคิดความเชื่อหรือระบอบกฎหมายเชิงสถาบัน
             เท่านั้น แต่ให้ความสำาคัญกับประชาธิปไตยที่จับต้องได้ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำาวัน เป็นส่วนหนึ่ง
             ของวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน วิถีการดำาเนินชีวิตแบบประชาธิปไตยจะยึดหลักความเสมอภาค เสรีภาพ ภราดรภาพ

             และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์โดยใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาหรือข้อขัดแย้งระหว่างกัน รู้จักรับฟังความคิดเห็น

             ของผู้อื่นอย่างมีสติสัมปชัญญะปราศจากอคติ และสนใจกิจการบ้านเมืองและเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
             รวมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกัน


                         นักวิชาการที่ให้ความหมายประชาธิปไตยในแนวทางนี้ เช่น


                         จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) นักปรัชญาและนักการศึกษาชาวสหรัฐอเมริกา มองว่าประชาธิปไตย
             มีความหมายที่ลึกและกว้างกว่าเป็นรูปแบบการปกครองหรือการออกกฎหมาย ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของวิถี

             ชีวิตแบบประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกำาหนดค่านิยมพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน
             ในสังคม การมีส่วนร่วมนี้ถือว่ามีความสำาคัญทั้งจากมุมมองของสวัสดิภาพทางสังคมและจากมุมมองของ

             การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในฐานะปัจเจกชน การพัฒนาประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของการปรึกษาหารือและ
             การได้มาซึ่งข้อตกลงบนพื้นฐานของความสมัครใจ มิใช่การบังคับหรือการใช้อำานาจ  ดิวอี้ ในงานเขียนคลาสสิก
                                                                                 2
             เรื่อง Democracy and Education (1916) ยำ้าให้เห็นความสัมพันธ์ของประชาธิปไตยกับการศึกษา การศึกษา
             ถือเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยในฐานะเป็นวิถีชีวิต และการอยู่ร่วมกันประชาธิปไตยที่มีคุณภาพจำาเป็น

             ต้องมีพลเมืองที่มีการศึกษา






             2   John Dewey. On Democracy. [Online]. (n.d.). Available from: https://wolfweb.unr.edu/homepage/
             lafer/dewey%20dewey.html [2018, September 17]
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17