Page 7 - kpiebook63023
P. 7
7
ชุดวิชำ ประชำธิปไตยท้องถิ่น
(Local Democracy)
วัตถุประสงค์กำรเรียนรู้
หลังจากศึกษาวิชา “รู้จักประชาธิปไตยท้องถิ่น” ผู้เรียนจะสามารถ
1. อธิบายความหมายและหลักการสำาคัญของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทย
โดยเฉพาะรูปแบบประชาธิปไตยท้องถิ่นหรือประชาธิปไตยที่ประชาชนปกครองตนเอง
2. อธิบายเหตุผลและความจำาเป็นของการสร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของการพัฒนา
ประชาธิปไตย
3. อธิบายกฎหมายสำาคัญที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นตั้งแต่รัฐธรรมนูญ
และพระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ ต่าง ๆ
4. อธิบายและวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยท้องถิ่นผ่านบทบาทผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ
การบริหารจัดการกลไกการสร้างความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความหมาย
ขอบเขตเนื้อหำกำรเรียนรู้
วิชานี้ตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นไทยมีภารกิจไม่เพียงแต่การจัดบริการสาธารณะ
ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำาคัญกับการสร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของ
การสร้างประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงและร่วมรับผิดชอบชุมชน
ท้องถิ่นของตนให้มากที่สุด ดังนั้นผู้สนใจเข้าสู่การเมืองระดับท้องถิ่นไม่ว่าเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายสภาท้องถิ่น
จำาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่เอื้ออำานวยให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น ชุดวิชานี้
จึงมุ่งให้ผู้เรียนศึกษาเกี่ยวกับคุณค่า หลักการ และรูปแบบต่าง ๆ ของประชาธิปไตย โดยเฉพาะลักษณะและ
รูปแบบประชาธิปไตยที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น ศึกษาคุณค่าของการปกครองท้องถิ่นต่อ
การพัฒนาประชาธิปไตยและแนวคิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษากฎหมายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทั้งที่เป็นกฎหมายที่ใช้ทั่วไปและระดับท้องถิ่นโดยเฉพาะ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น
ผ่านกรณีศึกษาต่าง ๆ