Page 11 - kpiebook63023
P. 11
11
• การมีศรัทธาในความสามารถของมนุษย์ ในสติปัญญา การรู้จักใช้เหตุผล การยึดหลักเหตุผล
ด้วยวิธีการทดสอบค้นคว้าตามแบบวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการมองของมนุษย์ในแง่ดีว่าสามารถ
ร่วมมือกันทำางานเพื่อความสุขส่วนรวมได้
• ความเชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์ จากความคิดที่ว่า มนุษย์รู้จักใช้เหตุผลการค้นหา
สิ่งที่พึงปรารถนาในการใช้ชีวิตร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนอาศัยการพิจารณาตามเหตุผลนี้
ทำาให้เกิดความเชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์ ความเป็นอิสระหมายถึงความสามารถ
ที่จะเลือกใช้ชีวิตกระทำาการหรือไม่กระทำาการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยตนเอง โดยไม่ตกอยู่ใต้อำานาจ
บงการของบุคคลอื่น เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถที่จะใช้เหตุผลในการเลือกตัดสินใจตกลงใจนี้
ย่อมหมายถึงการที่ทำาให้คนเราต้องผูกพันรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำาลงไปแล้วด้วย
• การยอมรับในความเท่าเทียมกันของคน ความเท่าเทียมกันหรือความเสมอภาคกันนี้ไม่ได้หมายถึง
ความเท่าเทียมกันทางสติปัญญาหรือกายภาพแต่เป็นความเสมอภาคทางกฎหมายและทางการเมือง
ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายโดยเท่าเทียม
กัน ความมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและโอกาสต่าง ๆ ที่จะใช้ชีวิตในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน
โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ กำาเนิด เพศ หรือฐานะทางเศรษฐกิจสังคม
2. ประชำธิปไตยในฐำนะเป็นระบอบกำรเมืองกำรปกครอง
(Democracy as Political system or a Form of government)
ในมิตินี้ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการจัดความสัมพันธ์ของประชาชนและสถาบันต่าง ๆ
ในการใช้อำานาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ ใครมีอำานาจมากใครมีอำานาจน้อย
หัวใจสำาคัญของระบอบประชาธิปไตยคือระบอบที่จัดความสัมพันธ์ทางอำานาจโดยที่ให้ประชาชนมีอำานาจ
มากในการจำากัดอำานาจของผู้ปกครอง เมื่อเทียบกับระบอบอื่น ๆ ระบอบประชาธิปไตยให้อำานาจประชาชน
มากเมื่อเทียบกับผู้ปกครอง นอกจากนั้นประชาชนยังมีความเท่าเทียมกัน นั่นคือเน้นความเสมอภาคในมิตินี้
ส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยแตกต่างจากระบอบอื่น ๆ
ความหมายของประชาธิปไตยในแนวทางนี้ เช่น
อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า
ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน (Government of the People,
by the People, for the People) ซึ่งเป็นคำาจำากัดความของระบอบประชาธิปไตยที่มีการอ้างอิงมากที่สุด