Page 42 - kpiebook63023
P. 42
42 ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น
3.2 กำรปกครองท้องถิ่นไทย
3.2.1 พลวัตของกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น
สำาหรับประเด็นเกี่ยวกับการกระจายอำานาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยนั้น แม้จะเป็น
ที่ยอมรับอยู่ว่าจุดเริ่มต้นของการจัดการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยอาจนับเนื่องได้ตั้งแต่เมื่องครั้งที่มี
การสถาปนา “สุขาภิบาลกรุงเทพฯ” ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2440 ก็ตาม (ชูวงศ์ ฉายะบุตร, 2539, น. 164 ;
ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2540, น. 137) แต่หากได้พิจารณาถึงจุดมุ่งหมายสำาคัญของการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น
ในครั้งนั้น อาจเห็นได้ว่ามิได้มีลักษณะเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ปกครองตนเองตามหลักการของ
การกระจายอำานาจและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดังในยุคสมัยปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการที่สุขาภิบาล
ในยุคเมื่อแรกตั้งเน้นบทบาทและหน้าที่ในการรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่
ที่สุขาภิบาลดูแลรับผิดชอบเป็นสำาคัญ กับทั้งผู้ที่ทำาหน้าที่เป็นผู้บริหารของสุขาภิบาลก็ประกอบไปด้วยข้าราชการ
เสียทั้งหมด (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2540, น. 137)
ความคิดในการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นการส่งเสริมการกระจายอำานาจให้แก่ประชาชน
จริงๆ นั้น ดูจะปรากฏชัดเจนก็เมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อรัฐบาลที่มีคณะราษฎรเป็นแกนนำา
ได้ผลักดันให้มีการตรา “พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476” ขึ้น เสียมากกว่า เนื่องด้วย
การประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการส่งเสริมและมอบสิทธิทางการเมืองให้แก่ประชาชน
เพื่อให้มีส่วนร่วมในการปกครองมากยิ่งขึ้น (ม.จ. สกลวรรณากร วรวรรณ และ พระยาสุนทรพิพิธ, 2478,
น. 208-209) และด้วยเป้าหมายเช่นนี้เอง บทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476
จึงได้นำาไปสู่การจัดตั้งเทศบาลขึ้นโดยเริ่มต้นจากการยกฐานะสุขาภิบาลที่มีมาแต่เดิมขึ้นเป็นเทศบาล และ
เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกสมาชิกสภาเทศบาลด้วย
แม้จะมีแนวคิดและความพยายามในการส่งเสริมการกระจายอำานาจและบทบาทของประชาชนใน
การมีส่วนร่วมทางการเมืองมาตั้งแต่ครั้งที่เกิดการเปลี่ยนระบอบการปกครองก็ตาม แต่ทว่าในปรากฏการณ์ที่เป็นจริง
แล้วนั้น การปกครองท้องถิ่นของไทยกลับมิได้มีความเข้มแข็งและบทบาทหน้าที่ที่สำาคัญอย่างที่ควร ที่สำาคัญ
อาจเป็นเพราะการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยในช่วงนับตั้งแต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เมื่อปี พ.ศ. 2475 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2535 ยังคงขาดเสถียรภาพ โดยมีรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร
สลับกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าวก็อาจมิได้ให้ความสำาคัญกับการปกครองท้องถิ่น
มากนัก และอาจมองว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเสมือนกลไกหรือโครงสร้างที่สนับสนุนการทำางานของ
ราชการส่วนกลางและภูมิภาค การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงถูกครอบงำาโดยข้าราชการประจำา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระทรวงมหาดไทย ดังจะเห็นจากการที่กฎหมายจัดตั้งขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
และสุขาภิบาล กำาหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายอำาเภอ