Page 44 - kpiebook63023
P. 44
44 ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น
บทบัญญัติที่สำาคัญมาตราหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ก็คือ มาตรา 284 โดยในมาตราดังกล่าวได้มีการบัญญัติ
ให้ต้องมีการตรากฎหมายกำาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำานาจของรัฐให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อเป็นการบังคับให้เกิดกระบวนการในการถ่ายโอนภารกิจของรัฐในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการวางหลักการในการจัดสรรสัดส่วนภาษีอากรระหว่างรัฐและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นใหม่ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่เหมาะสมกับการจัดทำาบริการสาธารณะ และให้
มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อรับผิดชอบในการกำาหนดทิศทางการกระจายอำานาจและการจัดสรรสัดส่วน
ภาษีอากรดังกล่าว บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในมาตรานี้จึงนับได้ว่ามีส่วนอย่างมากต่อการขับเคลื่อนให้เกิด
การกระจายอำานาจที่เป็นรูปธรรม
นอกจากบทบัญญัติในมาตรา 284 แล้ว บทบัญญัติในมาตรา 285 นับได้ว่ามีความสำาคัญเช่นเดียวกัน
กล่าวคือ ในมาตรา 285 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต้องประกอบไปด้วยสภาท้องถิ่น และคณะผู้บริหารหรือผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ในขณะที่คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือ
ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น
บทบัญญัติในมาตรานี้ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ
ในกรณีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ที่ได้มี
ผลบังคับใช้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงได้บัญญัติ
ให้ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้ง ทำาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องพ้นจากตำาแหน่ง
ไปโดยปริยาย เช่นเดียวกันกับโครงสร้างของสุขาภิบาล ซึ่งแต่เดิมมีนายอำาเภอทำาหน้าที่เป็นประธาน
คณะกรรมการสุขาภิบาล ต้องมีโครงสร้างไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ผลักดัน
ให้มีการยกฐานะของสุขาภิบาลที่มีอยู่ในขณะนั้น ให้มีฐานะเป็นเทศบาลตำาบล ซึ่งมีสมาชิกสภา และฝ่ายบริหาร
ที่มาจากการเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ยังได้มีการบัญญัติถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชนในระดับท้องถิ่นอีกด้วย โดยในมาตรา 286 และมาตรา 287 ได้บัญญัติถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชน
สามารถถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นออกจากตำาแหน่งได้ และประชาชนยังสามารถที่จะเข้าชื่อร่วมกัน
เพื่อเสนอให้สภาท้องถิ่นได้ออกข้อบัญญัติเพื่อบังคับใช้ภายในเขตท้องถิ่นได้ ซึ่งการมีส่วนร่วมนี้ต้องถือว่า
เป็นมิติใหม่ของการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่นที่ไม่เคยมีมาก่อนหน้านั้น
จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้นำาไปสู่การตรากฎหมายที่สำาคัญ
บางฉบับ ที่สำาคัญมากฉบับหนึ่ง ก็คือ “พระราชบัญญัติกำาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำานาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542” ซึ่งในพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีสาระที่สำาคัญอยู่หลายประการ กล่าวคือ
ในประการแรก พระราชบัญญัติฉบับนี้มีการบัญญัติให้มีคณะกรรมการการกระจายอำานาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีหน้าที่สำาคัญในการจัดทำาแผนการกระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น