Page 43 - kpiebook63023
P. 43
43
เป็นผู้บริหารของสุขาภิบาลตามลำาดับ นอกจากนั้นแล้วในมิติอำานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เรายังจะเห็นอีกด้วยว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีอำานาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะอยู่อย่างจำากัดมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับภารกิจของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในขณะนั้น (วุฒิสาร
ตันไชย, 2557, น. 32)
กระแสของความตื่นตัวเรื่องการกระจายอำานาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยที่เกิดขึ้น
อย่างจริงจังและต่อเนื่องได้เริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้นในช่วงหลังเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้อง
มิให้มีการสืบทอดอำานาจทางการเมืองของกองทัพในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยภายหลังการชุมนุมสิ้นสุดลง
ได้เกิดกระแสให้มีการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้การเมืองไทยมีความเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืน โดย
ในการเรียกร้องเพื่อการปฏิรูปการเมืองนั้น ได้มีข้อเสนอจากฟากฝั่งของพรรคการเมืองให้มีการกระจายอำานาจ
สู่ท้องถิ่น รวมทั้งพรรคการเมืองจำานวนหนึ่งยังเสนอให้มีการกระจายอำานาจด้วยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
อีกด้วย (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2540, น. 96-97)
อย่างไรก็ตาม แม้กระแสของการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจะไม่ได้รับการผลักดันให้
เกิดขึ้นจริง แต่ผลของการเรียกร้องในครั้งนั้นก็นับได้ว่าทำาให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องการกระจายอำานาจอย่างมาก
กระทรวงมหาดไทยเองได้ตัดสินใจในการตอบสนองต่อการเรียกร้องเรื่องการกระจายอำานาจโดยการผลักดันให้มี
“พระราชบัญญัติสภาตำาบลและองค์การบริหารส่วนตำาบล พ.ศ. 2537” ขึ้น ซึ่งผลของกฎหมายฉบับนี้ ทำาให้
ต้องมีการยกฐานะสภาตำาบลที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำาหนดให้เป็นสภาตำาบลและองค์การบริหารส่วนตำาบล
ที่เป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำาให้ในเวลาต่อมาองค์การบริหารส่วนตำาบล
จึงได้กลายเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขั้นพื้นฐานของประเทศไทย (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2555, น. 40)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กับการกระจายอ�านาจสู่ท้องถิ่น
การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองได้นำาไปสู่การผลักดันให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นั่นก็คือ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นอกจากจะเป็นกลไกสำาคัญที่นำาไปสู่
การปฏิรูปทางการเมืองแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังมีบทบาทอย่างสำาคัญต่อการกระจายอำานาจและการปฏิรูป
การปกครองท้องถิ่นของไทยอีกด้วย โดยในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญได้มีบทบัญญัติอย่างน้อย 10 มาตรา ที่บัญญัติถึง
การปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำานาจเอาไว้เป็นการเฉพาะ โดยหลักการและสาระสำาคัญ รัฐธรรมนูญได้
บัญญัติให้รัฐต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการกำากับดูแลต้องทำาเท่าที่จำาเป็น และใน
มิติเชิงโครงสร้าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีโครงสร้างของสภาและฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งของ
ประชาชนมิใช่ข้าราชการประจำาดังในอดีต นอกจากนั้น ประชาชนในท้องถิ่นยังสามารถมีส่วนร่วมทางการเมือง
นอกไปจากการเลือกตั้งโดยการริเริ่มเสนอข้อบัญญัติของท้องถิ่น และการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและ
ผู้บริหารของท้องถิ่นได้อีกด้วย (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2555, น. 40-41)