Page 41 - kpiebook63023
P. 41

41








                          รูปแบบที่ประชุมเมือง (Town – Meeting Form) การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  ในรูปแบบของที่ประชุมเมืองนี้ นับได้ว่าเป็นรูปแบบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี
                  ความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะคือการนำาเอาหลักการ “ประชาธิปไตยแบบทางตรง (Direct Democracy)”

                  มาใช้ในการบริหารงาน ดังนั้น การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของที่ประชุมเมืองนี้
                  จึงมักจะเป็นรูปแบบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็ก บ่อยครั้งเป็นพื้นที่ในเขตชนบท

                  มากกว่าชุมชนที่มีความเป็นเมือง เช่น บางชุมชนในมลรัฐแถบนิวอิงแลนด์ (New England) ของสหรัฐอเมริกา
                  หรือบางชุมชนในบางประเทศแถบยุโรปพื้นทวีป เป็นต้น (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2540, น. 53)


                          ในการบริหารงานรูปแบบที่ประชุมเมืองนี้ ประชาชนทุกคนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี

                  ฐานะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะสามารถเข้าร่วมประชุมเมืองได้ ซึ่งในที่ประชุมนี้เรื่องทุกเรื่องที่ต้องการพิจารณา
                  ตัดสินใจจะได้รับการนำาเข้ามาหารือกันในที่ประชุม โดยจะมีการพิจารณาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนกระทั่ง

                  นำาไปสู่การลงมติเพื่อตัดสินใจร่วมกัน ในการประชุมหากจำาเป็นต้องมีการออกข้อบัญญัติเพื่อใช้เป็นกฎเกณฑ์
                  กติกาบังคับภายในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ประชุมเมืองก็จะทำาหน้าที่ในการพิจารณา

                  ข้อบัญญัติต่างๆ เหล่านั้นด้วย ในการบริหารงานที่ประชุมเมืองยังทำาหน้าที่ในการพิจารณาเลือกคณะบุคคล
                  เพื่อทำาหน้าที่ในการบริหารกิจการต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นภารกิจประจำาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มี

                  ผู้รับผิดชอบในภารกิจเหล่านั้น (Duvall, 2007, pp. 67-68) อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังมานี้ในบางชุมชนที่บริหารงาน
                  ในรูปแบบของที่ประชุมเมือง แต่เนื่องจากเกิดมีประชากรในชุมชนเพิ่มจำานวนมากขึ้น จนกระทั่งส่งผลกระทบ

                  ต่อการบริหารงานในรูปแบบของที่ประชุมเมือง จึงจำาเป็นต้องมีการปรับปรุงรูปแบบของการบริหารงานเสียใหม่
                  โดยเรียกระบบการประชุมเมืองแบบใหม่นี้ว่า “การประชุมเมืองผ่านตัวแทน (Representative Town – Meeting)”

                  ภายใต้ตัวแบบที่ปรับปรุงใหม่นี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำาการเลือกคณะผู้แทน
                  จำานวนประมาณ 100 คน เพื่อให้คณะผู้แทนนี้ทำาหน้าที่ประชุมเมืองและตัดสินใจในเรื่องต่างๆ แทนตน

                  แต่ในการประชุมเมืองแต่ละครั้ง ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะยังคงสามารถเข้าร่วมประชุมและอภิปรายประเด็น
                  ปัญหาต่างๆ ได้ แต่ในการลงมติจะอนุญาตให้แต่เพียงกลุ่มคณะผู้แทนเท่านั้นที่จะลงมติได้ (Duvall, 2007, p. 67)


                          การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบนี้ ย่อมมีข้อดีอยู่ที่ความเป็นประชาธิปไตย
                  ที่ต้องถือว่าเป็นรูปแบบทางการบริหารของท้องถิ่นที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในบรรดารูปแบบ

                  การบริหารงานท้องถิ่นทุกรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  ในรูปแบบของที่ประชุมเมืองนี้ ย่อมมีข้อจำากัดอยู่ที่ไม่สามารถปรับใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่
                  และมีประชากรมากได้ นอกจากนั้นแล้ว การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการคิดและตัดสินใจ
                  ในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเต็มที่นั้น อาจนำามาซึ่งการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องได้ เพราะประชาชนทุกคนอาจไม่ได้มีความรู้

                  และมีข้อมูลที่ดีพอที่จะประกอบการตัดสินใจ นอกจากนั้นแล้ว ยังพบอีกด้วยว่าในท้องถิ่นที่บริหารงานในรูปแบบ

                  ของที่ประชุมมเองนี้ เริ่มมีประชาชนที่สนใจและเอาใจใส่ที่จะร่วมประชุมเมืองลดลงเรื่อยๆ (Duvall, 2007, p. 68)
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46