Page 36 - kpiebook63023
P. 36

36    ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น








                      ในการถ่ายโอนและกระจายภารกิจของรัฐบาลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำาเนินการนั้น

             เนื่องจากหลักการความเป็นอิสระของท้องถิ่น (Local Autonomy) นับได้ว่าเป็นหลักการที่สำาคัญ เพราะองค์กร
             ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละองค์กรย่อมจำาเป็นต้องมีความเป็นอิสระของตนเอง โดยที่รัฐบาลหรือองค์กรอื่นไม่ควร

             ต้องเข้าไปแทรกแซง เพราะฉะนั้น แนวคิดอีกข้อหนึ่งที่มีความสำาคัญมาก ก็คือ “แนวคิดว่าด้วยการเริ่มต้นที่ท้องถิ่น
             (Principle of Subsidarity)” ภายใต้แนวคิดในข้อนี้ยึดหลักที่ว่าภารกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในรัฐ ควรปล่อยให้

             องค์กรที่เล็กที่สุดหรืออยู่ในระดับที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดที่มีขีดความสามารถเป็นผู้ดำาเนินการให้เต็มที่
             เสียก่อน จนหากว่าภารกิจใดเป็นภารกิจที่เกินกำาลังหรือขีดความสามารถขององค์กรขนาดเล็กที่อยู่ในระดับที่

             ตำ่าที่สุดนั้นแล้ว ภารกิจนั้นจึงควรตกเป็นขององค์กรที่อยู่ในระดับสูงขึ้นและมีขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นให้เป็น
             ผู้รับผิดชอบดำาเนินการในภารกิจนั้นๆ (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2551, น. 240) ซึ่งหากว่าแนวคิดว่าด้วยการเริ่ม

             ต้นที่ท้องถิ่นเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับและยึดถือเป็นหลักการสำาคัญของการจัดจำาแนกภารกิจขององค์กร
             ปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ไม่ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีกี่ระดับซ้อนกันก็ตาม ภารกิจขององค์กรปกครอง

             ส่วนท้องถิ่นในแต่ละระดับก็จะยังคงมีความเป็นระบบไม่มีความซำ้าซ้อน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง
             ก็จะยังสามารถคงไว้ซึ่งความเป็นอิสระอีกด้วย เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สำาหรับการจัดโครงสร้างของ

             องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างแบบหลายชั้นนั้น ก็ควรที่จะยึดหลักการเริ่มต้นที่ท้องถิ่น
             (Subsidiarity Principle) ไว้ให้เป็นหลักการสำาคัญของการจัดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

             แต่ละองค์กรในแต่ละระดับด้วย


                      การจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นในลักษณะหลายชั้นซ้อนกัน (Multi-tier System) มีข้อดี
             ที่ชัดเจนอยู่ที่การจัดโครงสร้างแบบนี้ จะทำาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทำาหน้าที่ในการจัดบริการ

             สาธารณะได้อย่างกว้างขวางและหลากหลาย หากภารกิจใดเป็นภารกิจขนาดใหญ่ที่มีความยากในการจัดทำา
             ภารกิจ ภารกิจนั้นก็จะตกเป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในระดับบนและมีขนาดที่ใหญ่กว่า

             เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบภารกิจนั้นๆ ในขณะที่ภารกิจที่มีขนาดเล็กและไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
             ก็จะตกอยู่ในความรับผิดชอบดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่

             การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับล่างเป็นท้องถิ่นขนาดเล็กและอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนนั้น ก็ย่อมมีส่วน
             ช่วยสร้างบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยภายในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย


                      สำาหรับข้อจำากัดของการจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นแบบหลายชั้นซ้อนกันนั้นอาจอยู่ที่การมี

             องค์กรปกคองส่วนท้องถิ่นหลากหลายระดับและรูปแบบดูแลภารกิจการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน
             ภายในท้องถิ่น ดังนั้น ประชาชนอาจเกิดความสับสนและไม่แน่ใจในประเด็นที่ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด
             รับผิดชอบในการจัดทำาภารกิจบริการสาธารณะประเภทใดอยู่บ้าง นอกจากนั้น หากภายใต้ระบบการจัด

             โครงสร้างการปกครองท้องถิ่นแบบหลายชั้นขาดการจัดจำาแนกภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละระดับ

             ออกจากกันให้ชัดเจนและมีความเป็นระบบแล้ว ปัญหาที่ย่อมจะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอนก็คือ สภาพ
             ปัญหาความซำ้าซ้อนของการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละระดับ อันนำามาซึ่ง
             ความไร้ประสิทธิภาพและความสิ้นเปลืองในการดำาเนินการเพื่อจัดทำาบริการสาธารณะ
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41