Page 31 - kpiebook63023
P. 31

31






                  การแต่งตั้งหรือส่งออกมาประจำาการเพื่อทำาหน้าที่ในการดูแลและบริหารพื้นที่นอกเขตเมืองหลวงครอบคลุม

                  ทั่วทั้งประเทศ โดยยึดหลักการแบ่งอำานาจ (Deconcentration) ตามที่ได้กล่าวไว้ในส่วนต้นของชุดวิชานี้
                  ซึ่งตัวแทนของรัฐบาลและหน่วยงานที่ออกมาปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ย่อมต้องมีบทบาทหน้าที่ที่สำาคัญ

                  ในการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้เกิดผลสำาเร็จ ตัวอย่างของประเทศ
                  ตะวันตกประเทศหนึ่งที่มีการจัดโครงสร้างของระบบราชการในแบบนี้ ก็คือ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งรัฐบาล

                  จะมีการแต่งตั้ง “ผู้ว่าการจังหวัด (Préfet)” ที่มีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐในจังหวัดต่างๆ โดยจะทำาหน้าที่
                  แทนนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีทุกคนในแต่ละจังหวัด ผู้ว่าการจังหวัดนับเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำาคัญ

                  ในการดูแลและปกป้องผลประโยชน์แห่งรัฐ รวมทั้งกำากับดูแลข้าราชการทุกคนที่ปฏิบัติงานในจังหวัด ในอดีต
                  ผู้ว่าการจังหวัดของฝรั่งเศสยังมีหน้าที่สำาคัญในการกำากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อีกด้วย

                  ซึ่งแม้ว่าการปฏิรูประบบการปกครองท้องถิ่นของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1982 ได้ทำาให้บทบาทของผู้ว่าการจังหวัด
                  ในการกำากับดูแลลดลงไปก็ตาม แต่ทว่าในปัจจุบัน ผู้ว่าการจังหวัดของฝรั่งเศสก็ยังคงมีบทบาทในการดูแล

                  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งอำานาจในการอนุมัติ อนุญาตเกี่ยวกับการพำานักอาศัย
                  ของคนต่างด้าว ใบขับขี่ บัตรประจำาตัวประชาชน เป็นต้น (นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2561, น. 9) ซึ่งโครงสร้าง

                  กลไกที่กล่าวถึงนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นโครงสร้างการบริหารรัฐการในส่วนภูมิภาคนั่นเอง เพราะฉะนั้นในประเทศ
                  ที่มีการจัดโครงสร้างของระบบราชการแบบเดียวกับประเทศฝรั่งเศส ระบบราชการจึงจะประกอบไปด้วย

                  โครงสร้างหลัก 3 ส่วน อันได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น


                          ในประเทศที่มีการจัดโครงสร้างระบบราชการแบบ 3 ส่วนนี้ รัฐบาลกลางย่อมสามารถอาศัยโครงสร้าง
                  ของราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลไกที่ทำาหน้าที่ในการขับเคลื่อนหรือผลักดันนโยบายของรัฐบาลกลางในพื้นที่ต่างๆ

                  ของประเทศได้ ทำาให้ในประเทศที่มีลักษณะกลไกราชการแบบนี้ รัฐบาลกลางอาจมีความสามารถในการสร้าง
                  ความเป็นเอกภาพและแบบแผนแห่งนโยบายในเรื่องต่างๆ ได้ดีกว่าประเทศที่ไม่มีโครงสร้างของราชการในส่วน

                  ภูมิภาค เพราะฉะนั้นในประเทศที่มีโครงสร้างระบบราชการแบบนี้ การจัดโครงสร้างของระบบราชการก็จะยึดหลัก

                          •  การรวมอำานาจในการบริหารงานไว้ที่การบริหารราชการส่วนกลาง

                          •  การแบ่งอำานาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค


                          •  การกระจายอำานาจ (ที่หมายถึงการถ่ายโอนอำานาจ) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น





                          ทั้งนี้โครงสร้างระบบราชการของประเทศไทยเราเอง ก็มีการจัดโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วน ดังที่ได้

                  กล่าวมานี้เช่นกัน


                          การอภิปรายในส่วนก่อนหน้านี้ได้ช่วยให้เห็นแล้วว่าการปกครองท้องถิ่น ก็คือ การที่รัฐบาลได้กระจาย
                  หรือถ่ายโอนอำานาจมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมต้องถือเป็น

                  ส่วนหนึ่งของรัฐเสมอภายใต้หลักการข้างต้น อย่างไรก็ตาม การกระจายหรือถ่ายโอนอำานาจย่อมส่งผลทำาให้
                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะพิเศษที่สำาคัญดังต่อไปนี้คือ (ชูวงศ์ ฉายะบุตร, 2539, น. 21-22)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36