Page 30 - kpiebook63023
P. 30
30 ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น
การปกครองท้องถิ่นนั้นถือว่า
มีฐานะเป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของระบบราชการ
เพราะฉะนั้น การปกครองท้องถิ่นย่อมถือเป็นส่วนหนึ่ง
ของการใช้อ�านาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล)
อ�านาจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี
จึงเป็นอ�านาจที่รัฐบาลได้กระจายมาให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั่นเอง
ในหลายประเทศการปกครองท้องถิ่นอาจมีความสำาคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารประเทศ ทั้งนี้
อาจเนื่องด้วยในประเทศเหล่านั้น โครงสร้างของระบบราชการซึ่งมีบทบาทสำาคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย
ของรัฐบาลให้เกิดผลสำาเร็จ รวมถึงการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน จะมีก็แต่เพียงโครงสร้างของการบริหาร
ราชการส่วนกลาง และการปกครองท้องถิ่นเท่านั้นที่จะทำาหน้าที่สำาคัญดังกล่าวข้างต้น อย่างเช่น ในกรณีของ
ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศสหราชอาณาจักร (Dye, 1997 ; Wilson and Game, 1998) ที่โครงสร้าง
ของระบบราชการในทั้ง 2 ประเทศจะประกอบไปด้วยเพียงการบริหารราชการส่วนกลาง อันได้แก่ กระทรวง และ
กรมต่างๆ กับการปกครองท้องถิ่นเท่านั้น ประเทศที่มีลักษณะการจัดโครงสร้างระบบราชการในลักษณะ
ดังกล่าวยังรวมไปถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย ที่ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้นำาของประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าไป
มีบทบาทอย่างสำาคัญในการปฏิรูปการเมืองและระบบการบริหารราชการแผ่นดินของญี่ปุ่น และได้กำาหนดให้
ผู้ว่าราชการจังหวัดของญี่ปุ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน (Shun’ichi, 2003, p. 25)
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลทำาให้จังหวัดของญี่ปุ่นมีสถานะเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ในประเทศที่โครงสร้าง
ของระบบราชการมีลักษณะดังที่ได้กล่าวมานี้ การปกครองท้องถิ่นจึงถือได้ว่ามีความสำาคัญ เพราะการจัดบริการ
สาธารณะต่างๆ ให้แก่ประชาชน รัฐบาลจำาเป็นต้องพึ่งพาหรืออาศัยให้การปกครองท้องถิ่นได้ทำาหน้าที่ดังกล่าว
เพราะรัฐบาลเองไม่สามารถอาศัยกลไกราชการอื่นที่จะทำาหน้าที่ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศเหมือนกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของระบบราชการในบางประเทศอาจมีความแตกต่างออกไป กล่าวคือ นอกจาก
โครงสร้างของการบริหารราชการที่ส่วนกลาง และโครงสร้างของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแล้ว โครงสร้าง
ระบบราชการของประเทศเหล่านี้ยังอาจประกอบไปด้วยหน่วยงาน รวมทั้งตัวแทนของรัฐบาลกลางที่ได้รับ