Page 32 - kpiebook63023
P. 32
32 ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น
การปกครองท้องถิ่น ก็คือ การที่รัฐบาลได้กระจาย
หรือถ่ายโอนอ�านาจมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ย่อมต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเสมอ
ข้อแรก มีสถานะเป็นองค์กรที่มีความเป็นนิติบุคคลที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น โดยมีความเป็นอิสระ
แยกออกจากราชการส่วนกลาง ซึ่งราชการส่วนกลางอาจมีหน้าที่เพียงการกำากับดูแลให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น
ข้อที่สอง มีผู้บริหารรวมไปถึงสมาชิกสภาของท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้เนื่องจากว่าองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นยึดหลักการของการกระจายอำานาจมาให้แก่ประชาชน เพราะฉะนั้น ประชาชนในท้องถิ่น
จึงต้องมีโอกาสมีส่วนร่วม อย่างน้อยผ่านการเลือกตั้งตัวแทนของตน ซึ่งหากปราศจากการเลือกตั้งแล้ว
เราก็มิอาจถือว่าหน่วยงานนั้นๆ มีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แท้จริงได้
ข้อที่สาม มีอำานาจหน้าที่ที่เป็นอิสระตามสมควร เนื่องจากการกระจายอำานาจคือการถ่ายโอนภารกิจ
บางประการมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นแล้ว ในการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้มีการกระจาย
หรือถ่ายโอนมาให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงพึงต้องมีความเป็นอิสระในการดำาเนินการตามภารกิจเหล่านั้น
ได้ตามสมควร โดยที่ผู้บริหารและบุคลากรของท้องถิ่นต้องสามารถคิดและตัดสินใจได้เอง
ข้อที่สี่ มีงบประมาณและรายได้ที่เป็นของท้องถิ่นเอง สืบเนื่องจากการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องมีความเป็นอิสระในการดำาเนินการ ดังนั้น สิ่งที่จำาเป็นตามมา ก็คือ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมี
แหล่งรายได้ที่เป็นของตนเอง เช่น ภาษี ค่าธรรมเนียม ผลตอบแทนจากการพาณิชย์ ฯลฯ เพื่อให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นสามารถนำาเอารายได้เหล่านั้นไปตั้งเป็นงบประมาณสำาหรับการดำาเนินการตามภารกิจ
ข้อที่ห้า มีเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่ปฏิบัติงานของตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานและจัดบริการสาธารณะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังจำาเป็นต้องมีบุคลากร
ที่ปฏิบัติงานเป็นของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพิงบุคลากรของหน่วยงานอื่น เพราะการพึ่งพิงบุคลากรของหน่วยงานอื่น
เช่น ส่วนกลาง หรือภูมิภาค ย่อมทำาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เป็นอิสระในการปฏิบัติงาน
สำาหรับในประเด็นเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นนั้น อาจแยกพิจารณาเพื่อให้เกิด
ความเข้าใจได้ใน 2 ส่วนหลัก อันได้แก่ โครงสร้างภายนอก (External Structure) และโครงสร้างการบริหาร
งานภายใน (Internal Structure) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น