Page 34 - kpiebook63023
P. 34

34    ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น








                      สำาหรับข้อจำากัดของการจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นแบบชั้นเดียวก็มีอยู่บ้างเช่นกัน อย่างในกรณี

             ของประเทศไทยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบที่ต่างกันรับผิดชอบแต่ละพื้นที่
             ต่างกันออกไปนั้น ย่อมมีความเป็นไปได้ว่ามาตรฐานของการจัดบริการสาธารณะที่จัดโดยเทศบาลซึ่งเป็นองค์กร

             ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขีดความสามารถสูงที่สุด อาจได้คุณภาพหรือมีมาตรฐานที่ดีกว่าบริการสาธารณะ
             ที่ดำาเนินการโดยสุขาภิบาลซึ่งมีศักยภาพในลำาดับรองลงไป ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวย่อมเท่ากับว่าประชาชน

             ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล และสุขาภิบาล อาจไม่ได้รับบริการสาธารณะที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกันอย่างที่
             ควรจะเป็น นอกจากนั้น ในประสบการณ์ของบางประเทศ อย่างเช่น สหราชอาณาจักร การปฏิรูปโครงสร้าง

             การปกครองท้องถิ่นในบางช่วงเวลาได้เคยส่งผลทำาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่ มีลักษณะ
             เป็นโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นแบบชั้นเดียวที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก อันส่งผลทำาให้การจัดบริการสาธารณะ

             บางประเภทขาดประสิทธิภาพและการบูรณการ ทั้งๆ ที่บริการสาธารณะเหล่านั้นควรต้องได้รับการจัดทำา
             บริการโดยยึดหลักความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพในการดำาเนินการ เช่น ภารกิจด้านการป้องกันบรรเทา

             สาธารณะภัย ภารกิจด้านขนส่งมวลชน เป็นต้น ทำาให้ในท้ายที่สุดแล้วการจัดทำาบริการสาธาณะเหล่านั้น จำาเป็น
             ต้องมีการมอบหมายหรือจัดตั้งหน่วยงานใหม่ในรูปของหน่วยงานเฉพาะกิจ (single-purpose authority)

             หรือคณะกรรมการร่วม (Joint Boards / Committees) ขึ้นมาเพื่อทำาภารกิจการให้บริการสาธารณะนั้นๆ
             ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับประเทศสหราชอาณาจักรเมื่อครั้งที่มีการยุบเลิกมหานครลอนดอน

             (Greater London Authority) ในช่วงทศวรรษที่ 1980 (Wilson and Game 1998, pp. 67-68) โดยสภาพ
             ข้อจำากัดดังกล่าวทำาให้รัฐบาลของ สหราชอาณาจักรต้องมีการจัดตั้งมหานครลอนดอนขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

             ในช่วงปี ค.ศ. 2000 เพื่อเป็นการจัดการกับข้อจำากัดข้างต้น


                      การจัดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังอาจเป็นไปได้ในอีกลักษณะหนึ่ง นั่นก็คือ
             การจัดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบหลายชั้น (Multi-tier System) การจัดโครงสร้าง

             การปกครองท้องถิ่นในรูปแบบนี้ อาจเป็นการจัดโครงสร้างของหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีความซับซ้อนกว่า
             การจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นแบบชั้นเดียวอยู่บ้าง โดยหลักการ การจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่น

             ในระบบหลายชั้น ก็คือ การจัดโครงสร้างให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ 2 องค์กรขึ้นไปร่วมกันดูแล
             รับผิดชอบพื้นที่ของท้องถิ่น โดยหากมีสององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันดูแลรับผิดชอบพื้นที่ เราก็จะ

             เรียกว่าเป็น “ระบบการปกครองท้องถิ่นแบบสองชั้น (Two-tier System)” หรือหากมีสามองค์กรปกครอง
             ส่วนท้องถิ่นร่วมกันดูแลรับผิดชอบพื้นที่เราก็จะเรียกว่าเป็น “ระบบการปกครองท้องถิ่นแบบสามชั้น (Three-tier

             System)” เช่น ในกรณีของประเทศญี่ปุ่นจะมีระบบการปกครองท้องถิ่นแบบสองชั้น ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศส
             จะมีระบบการปกครองท้องถิ่นแบบสามชั้น เป็นต้น


                      ในการจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นออกเป็นหลายชั้นนี้ มีหัวใจสำาคัญอยู่ที่การจัดจำาแนก

             ภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละระดับหรือชั้นออกจากกัน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
             ในแต่ละชั้นจะไม่ได้มีความสัมพันธ์ต่อกันในรูปแบบของสายการบังคับบัญชาแต่ประการใด แต่ทว่าองค์กร
             ปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละชั้นจะมีภารกิจหน้าที่หรือความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป โดยที่หากว่าองค์กร
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39