Page 33 - kpiebook63023
P. 33

33








                          3.1.1 โครงสร้ำงภำยนอกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



                          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสถานะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ และเป็นโครงสร้างหนึ่งของระบบราชการ
                  ตามที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ในการจัดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมี

                  หลักการหรือแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับภูมิหลัง รวมทั้งสภาพภูมิสังคม ตลอดจนความจำาเป็น
                  ของแต่ละประเทศ ที่อาจส่งผลทำาให้การจัดโครงสร้างภายนอกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน

                  ออกไป ทั้งนี้ การจัดจำาแนกลักษณะการจัดโครงสร้างภายนอกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจแบ่งออกเป็น
                  การจัดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแบบชั้นเดียว (Single-tier System) กับการจัดโครงสร้าง

                  ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แยกออกเป็นหลายชั้นซ้อนกัน (Multi-tier System)


                          การจัดโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบชั้นเดียวนั้น นับได้ว่าเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้าง
                  การปกครองท้องถิ่นที่ง่ายและมีความซับซ้อนน้อยที่สุด ทั้งนี้เพราะภายใต้การจัดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบนี้
                  ในแต่ละพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของท้องถิ่น ก็จะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรใดองค์กรหนึ่ง

                  เพียงองค์กรเดียวที่รับผิดชอบในการดูแลพื้นที้นั้นๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนและง่ายสำาหรับการทำาความเข้าใจ ก็คือ

                  การจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2535 ซึ่งในช่วงเวลานั้น การปกครอง
                  ท้องถิ่นในประเทศไทยหากไม่นับกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบ
                  พิเศษแล้ว ก็จะประกอบไปด้วย เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยเทศบาลถือเป็นองค์กร

                  ปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเขตเมืองที่มีความเจริญ ซึ่งในการจัดตั้งท้องถิ่นใดขึ้นเป็นเทศบาลได้นั้น จะต้อง

                  พิจารณาจากทั้งหลักเกณฑ์จำานวนประชากร ความหนาแน่นของประชากร และรายได้ (ชูวงศ์ ฉายะบุตร, 2539,
                  น. 125) ซึ่งในอดีตจำานวนของเทศบาลจึงมีอยู่ไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่มีระดับของ
                  ความเจริญสูงตามเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำาหนดเอาไว้ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำาให้พื้นที่ที่มีระดับความเจริญในระดับรองๆ

                  ลงไปได้รับการจัดตั้งเป็นสุขาภิบาล ซึ่งส่วนใหญ่ ก็คือ พื้นที่โดยรอบที่ว่าการอำาเภอแต่ละอำาเภอ ซึ่งโดยกฎหมาย

                  ได้กำาหนดเอาไว้ว่าให้มีพื้นที่ไม่เกิน 13 ตารางกิโลเมตร เว้นแต่มีความจำาเป็นทางด้านผังเมืองก็อาจมีพื้นที่
                  กว้างกว่านั้นได้ (ชูวงศ์ ฉายะบุตร, 2539, น. 168) ส่วนพื้นที่อื่นๆ ภายในจังหวัดที่มิใช่เขตเทศบาล สุขาภิบาล และ
                  เมืองพัทยา ให้ถือเป็นเขตที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (ชูวงศ์ ฉายะบุตร, 2539, น, 102)


                          ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นของไทยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2535 องค์กรปกครอง

                  ส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะรับผิดชอบพื้นที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนไม่ซ้อนทับกัน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ เราจะ

                  เรียกว่าเป็นระบบการปกครองท้องถิ่นแบบ “ชั้นเดียว (Single-tier)” ข้อดีของการจัดการปกครองท้องถิ่น
                  ในรูปแบบนี้ ก็คือ ความชัดเจนในแง่ขององค์กรที่รับผิดชอบการจัดบริการสาธาณะในพื้นที่ ทำาให้ประชาชน
                  ไม่เกิดความสับสนว่า หน่วยการปกครองท้องถิ่นใดที่รับผิดชอบบริการสาธารณะภายในท้องถิ่นของพวกเขา

                  ซึ่งหากเกิดปัญหาหรือข้อจำากัดใดๆ ขึ้นก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ ย่อมไม่สามารถ

                  ที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นได้
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38