Page 37 - kpiebook63023
P. 37
37
3.1.2 โครงสร้ำงภำยในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวคิดเรื่องการกระจายอำานาจและการจัดการปกครองท้องถิ่นนั้น เป็นสิ่งที่ให้นำ้าหนักหรือความสำาคัญ
กับสภาพทางภูมิสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความแตกต่างและหลากหลาย การกระจายอำานาจ
มาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนนั้น ก็เพื่อช่วยให้การตัดสินใจในการดำาเนินภารกิจ
ต่างๆ มีแนวทางหรือการดำาเนินการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือความต้องการของประชาชนภายในท้องถิ่น
ให้มากที่สุด เพราะฉะนั้น เมื่อสภาพภูมิสังคม ปัญหา ตลอดจนความต้องการของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน
ออกไปแล้ว การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ย่อมมีลักษณะหรือรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปด้วย
ซึ่งเมื่อเราได้พิจารณาถึงรูปแบบของการการจัดโครงสร้างการบริหารงานภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว
เราก็จะพบว่าโครงสร้างการบริหารงานภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีอยู่หลายตัวแบบ ซึ่งแต่ละตัวแบบ
มีข้อดี และข้อจำากัดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งตัวแบบในการจัดโครงสร้างการบริหารงานภายในขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นอาจจัดจำาแนกได้ดังนี้คือ
รูปแบบนายกและสภาท้องถิ่น (Mayor - Council Form) การบริหารงานของท้องถิ่นในรูปแบบแรกนี้
นับได้ว่าเป็นรูปแบบที่มีความแพร่หลายค่อนข้างมากในปัจจุบัน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายประเทศ
ใช้รูปแบบการบริหารงานแบบนี้ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ไทย สหรัฐอเมริกา
แต่ทั้งนี้ในแต่ละประเทศอาจมีลักษณะปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไปบ้าง อย่างไรก็ตาม โดยหลักการพื้นฐาน
แล้ว การจัดโครงสร้างการบริหารท้องถิ่นในลักษณะนี้ เป็นความพยายามในการแยกโครงสร้างและบทบาท
ของสภาท้องถิ่น ออกจากโครงสร้างและบทบาทของผู้บริหารท้องถิ่น โดยสภาท้องถิ่นจะมีบทบาทที่สำาคัญ
ในการพิจารณาข้อบัญญัติต่างๆ ของท้องถิ่นที่จะประกาศใช้ พิจารณาแนวนโยบายและกำากับการทำางานของผู้บริหาร
ในขณะที่ผู้บริหารของท้องถิ่นย่อมจะมีบทบาทที่สำาคัญในการบริหารกิจการต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้เป็นไปตามนโยบายของตน (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2540, น. 54-55)
ในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นนั้น โดยปกติแล้วสมาชิกสภาท้องถิ่น
จะมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในขณะที่ตัวผู้บริหารของท้องถิ่น (ซึ่งอาจเรียกว่านายก) อาจมีที่มาได้จาก
ทั้งการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนภายในท้องถิ่น และการที่สภาท้องถิ่นเป็นผู้เลือกนายก ในอดีต การได้มา
ซึ่งนายกเทศมนตรีในเทศบาลหลายแห่งของสหรัฐอเมริกามักมาจากการคัดเลือกโดยสมาชิกสภาท้องถิ่น
ในขณะที่สภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง ทำาให้สภาท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่ที่กว้างขวาง
และเป็นบทบาทที่สำาคัญหลายประการ เช่น การพิจารณางบประมาณของท้องถิ่น การพิจารณาว่าจ้างหรือ
การปลดพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกจากตำาแหน่ง ส่วนนายกเทศมนตรีเองนั้น เนื่องจาก
มีที่มาจากการคัดเลือกของสมาชิกสภาท้องถิ่น จึงส่งผลทำาให้บทบาทหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเองนั้นถูกจำากัด
และตกอยู่ภายใต้การกำากับควบคุมของสภาท้องถิ่น ลักษณะที่มาของนายกเทศมนตรี และความสัมพันธ์
ระหว่างนายกเทศมนตรีกับสภาท้องถิ่นแบบนี้เองที่เราอาจเรียกได้ว่ามีลักษณะเป็น “นายกเทศมนตรีที่อ่อนแอ
(Weak Mayor)” อย่างไรก็ดี รูปแบบการบริหารงานที่สภาท้องถิ่นมีบทบาทมากในขณะที่นายกเทศมนตรี