Page 38 - kpiebook63023
P. 38

38    ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น








             มีบทบาทอ่อนแอเช่นนี้ นับได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาท้องถิ่นที่เป็นตัวแทนของประชาชนในแต่ละ

             เขตเลือกตั้งภายในท้องถิ่นได้แสดงบทบาทในการเป็นตัวแทนของประชาชน และทำางานให้กับประชาชน
             อย่างเต็มที่ แต่การที่นายกเทศมนตรีมีบททบาทที่จำากัดเช่นนี้ อาจนำาไปสู่การขาดภาวะผู้นำาที่มีบทบาทเข้มแข็ง

             ที่จะสามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Duvall, 2007, pp.63-64)


                      อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่นับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เทศบาลขนาดใหญ่หลายแห่ง
             ในสหรัฐอเมริกา เริ่มที่จะให้ความสำาคัญกับตัวนายกเทศมนตรีมากขึ้น ทั้งนี้ประชาชนในเขตเทศบาลขนาดใหญ่

             เหล่านั้น มีความคาดหวังที่จะเห็นนายกเทศมนตรีที่มีภาวะผู้นำา และมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน
             ภายในเขตเทศบาล ดังนั้น เราจึงเริ่มสังเกตเห็นการจำากัดบทบาทของสภาท้องถิ่นให้ทำาหน้าที่แต่เพียงการพิจารณา

             ถึงข้อบัญญัติต่างๆ ของเทศบาลเท่านั้น ในขณะที่ตัวนายกเทศมนตรีซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนจะเริ่ม
             ถูกคาดหวังจากประชาชนให้ทำาหน้าที่ในการบริหารท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยต้องแสดงออกให้ประชาชนเห็นถึง

             วิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำาที่กล้าตัดสินใจ ลักษณะของตัวแบบที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้เอง ทำาให้เกิดลักษณะการบริหาร
             งานของท้องถิ่นที่มี “นายกเทศมนตรีที่มีความเข้มแข็ง (Strong Mayor)” โดยรวมแล้ว การบริหารงานของ

             ท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นผู้นำาเข้มแข็งเช่นนี้ ย่อมมีความได้เปรียบในแง่ของการมีภาวะผู้นำาของนายกเทศมนตรี
             ทำาให้สามารถตัดสินใจในการดำาเนินการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ของท้องถิ่นได้รวดเร็ว แต่อย่างไรก็ดี การมี

             นายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเช่นนี้ ก็อาจไม่ได้มีหลักประกันใดๆ ว่าเราจะได้นายกเทศมนตรีที่มี
             ความเป็นเลิศในการบริหารมาเป็นผู้นำาของท้องถิ่นของเราเสมอไป (Duvall, 2007, pp.65-66)


                      โดยภาพรวมการบริหารงานของท้องถิ่นภายใต้ตัวแบบนายกและสภาท้องถิ่นจะมีจุดแข็งอยู่ที่โครงสร้าง

             ในการบริหารที่มีการแบ่งแยกโครงสร้างและบทบาทที่ชัดเจนระหว่างฝ่ายของสภาและฝ่ายบริหาร รวมทั้ง
             การมีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลที่ดีระหว่างโครงสร้างทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรก็ตาม ก็พึงต้องตระหนัก
             ด้วยว่าการแบ่งแยกโครงสร้างเป็นฝ่ายสภาและฝ่ายบริหารเช่นนี้ อาจนำาไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกันก็เป็นได้

             (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2544, น. 119)


                      รูปแบบคณะกรรมการ (Committee System) สำาหรับการบริหารงานท้องถิ่นในอีกตัวแบบหนึ่ง

             ที่มีความแตกต่างไปจากการบริหารงานท้องถิ่นในรูปแบบที่กล่าวมาแล้ว ก็คือ การบริหารงานของท้องถิ่น
             ในรูปแบบของคณะกรรมการ การบริหารงานท้องถิ่นในลักษณะนี้จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่ไม่มีการแบ่งแยกโครงสร้าง
             ของการบริหารออกเป็นฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายสภา แต่ภายใต้ระบบคณะกรรมการจะถือว่าอำานาจหรือองค์กรที่มี

             อำานาจตัดสินใจสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ที่สภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

             (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2540, น. 58) หากเปรียบเทียบกับตัวแบบที่แล้ว สภาท้องถิ่นในระบบคณะกรรมการ
             จะทำาหน้าที่เป็นทั้งสภาและฝ่ายบริหารไปพร้อมกัน


                      อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีเมื่อสภาท้องถิ่นประกอบไปด้วยสมาชิกสภาเป็นจำานวนมาก เช่น มีจำานวน
             สมาชิกมากกว่า 100 คน อาจทำาให้การบริหารงานของสภาท้องถิ่นเริ่มเกิดปัญหา เพราะการที่สภาท้องถิ่นเป็น

             องค์กรขนาดใหญ่อาจส่งผลทำาให้การพิจารณาประเด็นปัญหาต่างๆ ทำาได้ยากลำาบาก การพิจารณาตัดสินใจ
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43