Page 39 - kpiebook63023
P. 39
39
ไม่สามารถทำาได้อย่างครบถ้วนรอบด้าน เพราะสมาชิกสภาที่มีอยู่เป็นจำานวนมากอาจมีความรู้ความเข้าใจ
ในแต่ละเรื่องไม่เท่ากัน เนื่องจากมีภูมิหลังและความสนใจที่ต่างกัน ในกรณีเช่นนี้ อาจทำาให้สภาท้องถิ่นนั้นๆ
มีการจัดโครงสร้างของสภาท้องถิ่นออกเป็นคณะกรรมาธิการชุดย่อยๆ ตามภารกิจหน้าที่ที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นนั้นรับผิดชอบ โดยที่สมาชิกสภาท้องถิ่นแต่ละคนก็จะสามารถเลือกที่จะไปทำาหน้าที่เป็นกรรมาธิการ
ในแต่ละด้านตามความสนใจและความถนัดของตน ซึ่งลักษณะการจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นแบบนี้
เคยเป็นรูปแบบหลักของการจัดการปกครองท้องถิ่นของประเทศอังกฤษในช่วงก่อนการปฏิรูปครั้งใหญ่ในช่วงปี
ค.ศ. 2000 (Byrne, 1994, p. 217) หรือในกรณีของสุขาภิบาลของไทยในอดีต ภายใต้พระราชบัญญัติสุขาภิบาล
พ.ศ. 2495 ก็มีรูปแบบการบริหารงานในรูปของคณะกรรมการนี้เช่นกัน (ชูวงศ์ ฉายะบุตร, 2539, น. 171-173)
โครงสร้างการบริหารงานของท้องถิ่นในรูปของคณะกรรมการ มีข้อดีอยู่ตรงที่ไม่มีการแบ่งแยกโครงสร้าง
ออกเป็นฝ่ายสภาและฝ่ายบริหาร ซึ่งในกรณีที่โครงสร้างของสภามีขนาดไม่ใหญ่และไม่มีการจัดแบ่งโครงสร้าง
ออกเป็นคณะกรรมาธิการชุดย่อยๆ นี้ ก็จะทำาให้ไม่เกิดปัญหาความไม่ลงรอยหรือความขัดแย้งในการบริหาร
งานท้องถิ่นโดยไม่จำาเป็น หากสภาท้องถิ่นมีขนาดเล็ก การจัดโครงสร้างให้มีแต่สภาท้องถิ่นยังช่วยให้ใน
ทางการบริหารอาจมีความประหยัด เพราะไม่ต้องมีการจ้างพนักงานประจำามากนักมาทำางานสนับสนุนสภาท้องถิ่น
การบริหารงานในลักษณะตัวแบบนี้ จึงดูเหมือนจะมีความเหมาะสมกับท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นชุมชนท้องถิ่น
ที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนักเสียมากกว่า อย่างไรก็ดี การบริหารงานภายใต้ตัวแบบนี้ อาจมีข้อจำากัดในแง่ที่ไม่มี
การแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนว่าใครทำาหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารงานของท้องถิ่น ทำาให้ไม่มีความชัดเจน
ในประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดรับชอบต่อประชาชน และหากว่าสภาท้องถิ่นมีขนาดใหญ่จนต้องแบ่งการทำาหน้าที่
ออกเป็นกรรมาธิการแต่ละด้านแล้ว ความขัดแย้งไม่ลงรอยระหว่างกรรมาธิการแต่ละคณะก็อาจมีแนวโน้มที่จะ
เกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2544, น. 120-121)
รูปแบบสภาและผู้จัดการ (Council – Manager Form) เป็นรูปแบบในการบริหารงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความแพร่หลายอย่างมากในการบริหารงานขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการประมาณการว่ามีเมือง (Cities) ในสหรัฐอเมริกาเกือบ 2,500 แห่ง ที่ใช้
รูปแบบการบริหารงานแบบสภาและผู้จัดการนี้ (Kemp, 2007, p. 70) หลักการสำาคัญของการบริหารงาน
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของสภาและผู้จัดการ ก็คือ การใช้นักบริหารงานที่มี “ความเป็นมืออาชีพ
(Professional)” มาทำาหน้าที่ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะหากเปรียบเทียบภารกิจ
ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลรับผิดชอบ ตลอดจนงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว สิ่งที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดูแลรับผิดชอบนั้นมีมากไม่แพ้บริษัทหรือองค์กรเอกชนขนาดใหญ่เลยทีเดียว
ภายใต้รูปแบบการบริหารงานนี้ สภาท้องถิ่นจะเป็นโครงสร้างที่ได้รับการเลือกตั้งมาโดยตรงจากประชาชน
ในท้องถิ่น โดยสภาท้องถิ่นจะมีบทบาทหน้าที่ในการกำาหนดทิศทางนโยบายสำาหรับการบริหารงานของท้องถิ่น
กับการทำาหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบข้อบัญญัติต่างๆ ที่จะประกาศใช้ในเขตท้องถิ่น นอกจากนั้น สภาท้องถิ่น
ยังมีบทบาทในการสรรหานักบริหารที่มีความเป็นมืออาชีพ เข้ามาทำาหน้าที่เป็น “ผู้จัดการ (Manager)”