Page 46 - kpiebook63023
P. 46
46 ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น
อำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำาหนดให้มีการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำาให้กระบวนการ
ถ่ายโอนภารกิจเป็นไปอย่างล่าช้า และกลายเป็นกระบวนการที่ต้องมีการเจรจาต่อรองระหว่างส่วนราชการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการการกระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศุภสวัสดิ์
ชัชวาลย์, 2555, น. 136-138)
อย่างไรก็ตาม พลวัตของการกระจายอำานาจในประเทศไทยอาจดูมีความเคลื่อนไหวน้อยลงในช่วงหลัง
มานี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้มีการบัญญัติถึงการปกครองท้องถิ่นไว้เป็นการเฉพาะ
เช่นเดียวกันกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2550 แต่ทั้งนี้ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นมีอยู่เพียง 6 มาตรา
โดยที่เนื้อหาเหล่านั้นจะกล่าวถึงแต่เพียงหลักการกว้างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น และส่วนมาก
ก็ไม่ได้มีสาระสำาคัญที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้มากนัก การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับ
การปกครองท้องถิ่นจะเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับเนื้อหาในกฎหมายที่จะต้องมีการจัดทำาและประกาศใช้ในภายหลัง
3.2.2 โครงสร้ำงและอ�ำนำจหน้ำที่ของกำรปกครองท้องถิ่น
ในประเทศไทย
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือ รูปแบบโครงสร้างของการจัดการปกครองท้องถิ่นทั้งโครงสร้างภายนอกและ
ภายในที่ปรากฏให้เห็นในการจัดโครงสร้างของการปกครองท้องถิ่นในประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน รวมทั้งพลวัต
หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย สำาหรับในประเด็นเชิงโครงสร้างของ
การปกครองท้องถิ่นไทยแล้ว นับตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาจะมีลักษณะเป็น “การปกครองท้องถิ่น
แบบสองชั้น (Two-tier System)” โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะมีสถานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในระดับบน ในขณะที่องค์การบริหารส่วนตำาบล และเทศบาลมีสถานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับ
ล่าง ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่าในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 กำาหนดให้เขตพื้นที่จังหวัด
คือ เขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และยังกำาหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นมีหน้าที่ในการจัดทำา
แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและประสานแผนพัฒนาจังหวัด รวมทั้งให้ความสนับสนุนและให้
ความช่วยเหลือแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการจัดบริการสาธารณะ ในขณะที่พระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติสภาตำาบลและองค์การบริหารส่วนตำาบล พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 2 รูปแบบ มีอำานาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งนั่น
ย่อมหมายความว่าทุกวันนี้ในอาณาบริเวณหนึ่งๆ ของไทย (ไม่นับรวมถึงเขตกรุงเทพมหานคร) ก็จะมีองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น 2 องค์กร ร่วมกับดูแลรับผิดชอบการจัดบริการสาธาณะในอาณาบริเวณนั้นๆ เสมอ เพราะฉะนั้น
การปกครองท้องถิ่นของไทยจึงมีลักษณะเป็นระบบโครงสร้างแบบสองชั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในส่วนก่อนหน้านี้
(ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2555, น. 56-57) อย่างไรก็ตาม กรณีของการปกครองท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานครนั้น