Page 47 - kpiebook63023
P. 47

47








                  อาจมีความแตกต่างไปจากการจัดการปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อื่น เนื่องจากว่ากรุงเทพมหานครมีฐานะเป็น

                  หน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีกฎหมายเฉพาะเป็นของตนเอง ซึ่งภายใต้กฎหมายของกรุงเทพมหานคร
                  การบริหารงานและการจัดบริการสาธารณะต่างๆ จะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร โดยไม่มี

                  โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตของกรุงเทพมหานครมาร่วมรับผิดชอบการจัดบริการสาธารณะ
                  ดังนั้น เราจึงถือว่าในเขตกรุงเทพมหานคร การปกครองท้องถิ่นมีลักษณะเป็น “โครงสร้างแบบชั้นเดียว”


                          สำาหรับโครงสร้างการบริหารงานภายในของการปกครองท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเรายังไม่มี

                  การจัดทำาเป็น “ประมวลกฎหมายท้องถิ่น” ดังนั้น โครงสร้างการบริหารงานภายใน รวมถึงอำานาจหน้าที่ของ
                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องเป็นไปตามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละฉบับ

                  อันประกอบไปด้วย พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
                  พระราชบัญญัติสภาตำาบลและองค์การบริหารส่วนตำาบล พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ

                  กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ทั้งนี้กฎหมาย
                  เหล่านั้นได้บัญญัติถึงโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบไว้เหมือนกัน นั่นคือ

                  ให้ประกอบไปด้วยสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น โดยทั้งสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง
                  โดยตรงของประชาชน แต่ในส่วนของสภาท้องถิ่นนั้น จำานวนของสมาชิกสภาท้องถิ่นจะมีเงื่อนไขและการกำาหนด

                  จำานวนที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งกฎหมายยังได้บัญญัติให้อำานาจหน้าที่ของผู้บริหารขององค์กรปกครอง
                  ส่วนท้องถิ่นของไทยมีอยู่อย่างกว้างขวาง (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2555, น. 57-64) ด้วยเหตุนี้เราจึงอาจสรุปได้ว่า

                  การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันเป็นลักษณะของ “นายกและสภาท้องถิ่น
                  (Mayor – Council Form)” แบบที่ “นายกมีความเข้มแข็ง (Strong Mayor)” นั่นเอง


                          สำาหรับในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอำานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                  อันได้แก่ พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ และพระราชบัญญัติกำาหนดแผน

                  และขั้นตอนการกระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติถึงอำานาจหน้าที่

                  ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยไว้ดังต่อไปนี้


                          อำานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำาบล

                          พระราชบัญญัติสภาตำาบลและองค์การบริหารส่วนตำาบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง

                  ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติถึงอำานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำาบลไว้เป็น 3 ประการสำาคัญ ได้แก่


                          1.  อบต. มีอำานาจหน้าที่ในการพัฒนาตำาบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ตามมาตรา 66


                          2.  หน้าที่ที่ อบต. ต้องทำาในเขตพื้นที่ อบต. ได้แก่
                              (1)   จัดให้มีและบำารุงรักษาทางนำ้าและทางบก

                              (2)   รักษาความสะอาดของถนน ทางนำ้า ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำาจัดมูลฝอยและ

                                   สิ่งปฏิกูล
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52