Page 14 - kpiebook63023
P. 14

14   ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น








                      การกระจายอำานาจที่หมายถึงการมอบหมายให้ภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมดำาเนินการแทนรัฐนั้น

             เป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นได้อย่างแพร่หลายในประเทศอย่างกรณีของสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
             นิวซีแลนด์ ฯลฯ โดยในประเทศต่างๆ เหล่านี้จะพบว่าบริการสาธารณะหลายประเภทได้รับการมอบหมาย

             ให้กับภาคเอกชนเป็นผู้ดำาเนินการแทน หรือร่วมดำาเนินการกับภาครัฐ และปรากฏให้เห็นทั้งในบริการสาธารณะ
             ในระดับประเทศ และในระดับท้องถิ่น เนื่องด้วยในประเทศเหล่านี้รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะมุ่งลดภาระ

             ของภาครัฐลงเพื่อให้รัฐบาลมีภาระด้านงบประมาณที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม ในอีกหลายประเทศแนวคิด
             ในการมอบหมายภารกิจให้กับภาคเอกชนเป็นผู้จัดบริการสาธารณะแทนภาครัฐนั้น อาจเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับ

             การยอมรับมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีแนวคิดแบบ “รัฐสวัสดิการ (Welfare State)”
             อย่างประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย โดยในประเทศเหล่านี้จะให้ความสำาคัญกับความเสมอภาคในการเข้าถึงและ

             การได้รับบริการสาธารณะ เพราะฉะนั้น รัฐจึงมีบทบาทหน้าที่ที่สำาคัญในการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน
             ทุกคนอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ดังนั้น ในประเทศที่ยึดหลักการแบบรัฐสวัสดิการนี้ บริการสาธารณะทั้งหลาย

             ส่วนใหญ่จะจัดบริการโดยภาครัฐ ไม่ใช่ภาคเอกชน


                      การกระจายอำานาจในรูปแบบที่สี่ ซึ่งมีการกล่าวถึงอย่างแพร่หลายนั้น หมายถึง “การกระจายอำานาจ
             ด้านการคลัง (Fiscal Decentralization)” ทั้งนี้สืบเนื่องจากในกระบวนการกระจายหรือถ่ายโอนอำานาจของ

             รัฐมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เงื่อนไขสำาคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
             มีความเป็นอิสระและสามารถจะจัดบริการสาธารณะได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนภายใน

             ท้องถิ่น ก็คือ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบการคลังและงบประมาณที่คล่องตัว เพราะฉะนั้น
             การกระจายอำานาจทางด้านการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการกระจาย

             อำานาจที่มีความสำาคัญและจำาเป็น (Manor, 1999; Cheema and Rondinelli, 2007)

                      การกระจายอำานาจทางด้านการคลังที่กล่าวถึงนี้ มิได้หมายความถึงเพียงการที่องค์กรปกครอง

             ส่วนท้องถิ่นมีงบประมาณที่มากเพียงพอเท่านั้น แต่ทว่ายังต้องหมายถึงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมี

             ฐานรายได้ของตนเองที่มากพอสำาหรับการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
             ได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพิงงบประมาณจากรัฐในส่วนกลาง เพราะฉะนั้น นัยของการกระจายอำานาจทาง
             ด้านการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องหมายความถึงการให้อำานาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

             ในการที่จะหารายได้ด้วยตนเองอย่างเพียงพอ เช่น อำานาจในการกำาหนดอัตราการจัดเก็บภาษี อำานาจในการจัดหา

             รายได้จากภาษีหรือค่าธรรมเนียมใหม่ๆ บางประเภท หรือหากจำาเป็นยังต้องอาจรวมไปถึงความสามารถขององค์กร
             ปกครองส่วนท้องถิ่นในการกู้ยืมเงินทั้งจากสถาบันการเงินหรือประชาชนผ่านการออกพันธบัตรของท้องถิ่นด้วย


                      อย่างไรก็ตาม ในสภาพของความเป็นจริงแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าในประเทศต่างๆ ทั่วโลก องค์กรปกครอง
             ส่วนท้องถิ่นมักไม่สามารถจะดำารงอยู่ได้ด้วยแหล่งรายได้ภายในท้องถิ่นเองแท้ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน

             แต่ละประเทศล้วนต้องอาศัยแหล่งรายได้ที่รัฐในส่วนกลางจัดสรรหรือแบ่งปันมาให้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ

             ของเงินอุดหนุน หรือภาษีที่รัฐจัดสรรมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ตาม ด้วยเหตุเช่นนี้เอง การกระจาย
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19