Page 11 - kpiebook63023
P. 11
11
ราชการเสียมากกว่า ในทางกลับกัน การกระจายอำานาจที่หมายถึงการแบ่งอำานาจยังอาจเป็นเครื่องมือหรือ
กลไกที่สำาคัญที่ช่วยให้รัฐสามารถกระชับหรือรวมศูนย์อำานาจได้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้รัฐสามารถดำาเนินการตาม
นโยบายที่รัฐกำาหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิผล เพราะฉะนั้น การกระจายอำานาจในรูปแบบนี้จึงอาจมิได้มีลักษณะ
ที่หนุนเสริมต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่กลับมีส่วนช่วยในการหนุนเสริมความเข้มแข็ง
ของภาครัฐหรือกลไกราชการให้สามารถที่จะขับเคลื่อนและผลักดันนโยบายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้นเสียมากกว่า เช่น ในอดีตรัฐบาลชุดหนึ่งของไทยเคยมีนโยบายที่จะปราบปรามผู้มีอิทธิพล รวมทั้ง
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การขับเคลื่อนนโยบายข้างต้น รัฐบาลก็อาศัยโครงสร้างของจังหวัดและอำาเภอ
โดยกำาหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำาเภอเป็นผู้รับผิดชอบและดำาเนินนโยบายดังกล่าว เป็นต้น
การกระจายอ�านาจที่หมายถึงการแบ่งอ�านาจ
ยังอาจเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่ส�าคัญ
ที่ช่วยให้รัฐสามารถกระชับหรือรวมศูนย์อ�านาจได้มากยิ่งขึ้น
ช่วยให้รัฐสามารถด�าเนินการตามนโยบายที่รัฐก�าหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิผล
สำาหรับการกระจายอำานาจในรูปแบบที่สอง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการกระจายอำานาจในรูปแบบแรก
และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการกระจายอำานาจที่มีส่วนในการหนุนเสริมต่อการจัดการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ก็คือ การนิยามว่าการกระจายอำานาจ หมายถึง การที่รัฐหรือผู้มีอำานาจในการปกครอง “ถ่ายโอนอำานาจ
(Devolve)” บางส่วนในการจัดบริการสาธารณะ ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยก็สุดแท้แต่ ไปให้กับประชาชนที่
อาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนเหล่านั้นได้คิดหรือตัดสินใจเอาเองว่าพวกเขาจะจัดบริการสาธารณะ
เหล่านั้นอย่างไร เพื่อให้พวกเขาได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะนั้นๆ และเป็นบริการสาธารณะที่ตรงกับความ
ต้องการของพวกเขามากที่สุด นักวิชาการบางท่านอาจอธิบายว่าการกระจายอำานาจในรูปแบบนี้มีลักษณะเป็น
“การกระจายอำานาจในทางการเมือง (Political Decentralization)” เพราะรัฐได้ถ่ายโอนอำานาจในการคิด
หรือตัดสินใจไปให้กับประชาชน และเนื่องด้วยว่าประชาชนทั้งหมดทุกคนย่อมไม่สามารถที่จะเข้าไปมีบทบาท
ในการคิดหรือตัดสินใจได้โดยตรง เช่น พวกเขาอาจไม่มีเวลามากพอเพราะต้องประกอบอาชีพประจำา หรือเขา
อาจไม่ได้มีความรู้หรือความสนใจในประเด็นด้านการบริหารจัดการมากนัก พวกเขาจึงมักมีการเลือกตัวแทน
ของประชาชนเพื่อทำาหน้าที่เหล่านั้นแทนตน (Manor 1999 ; Cheema and Rondinelli 2007) รวมทั้ง
ยังอาจจำาเป็นต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานที่จะมารับผิดชอบภารกิจในการจัดบริการสาธารณะที่รัฐถ่ายโอนมาให้
ซึ่งองค์กรที่ว่า ก็คือ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ส่วนตัวแทนที่ประชาชนเป็นผู้เลือกมานั้น ก็จะมาทำาหน้าที่
เป็นผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นนั่นเอง