Page 10 - kpiebook63023
P. 10

10   ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น







             1.1 ควำมหมำยและรูปแบบที่หลำกหลำยของกำรกระจำยอ�ำนำจ





                      การให้ความหมายหรือการนิยามการกระจายอำานาจอาจเป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะง่าย แต่ด้วยความที่ระบบ

             การเมือง การบริหาร รวมทั้งเศรษฐกิจ ในยุคปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าในอดีต จึงทำาให้รูปแบบ
             และคำานิยามของการกระจายอำานาจดูจะมีความหลากหลายตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การให้คำานิยามกับคำาว่า

             “การกระจายอำานาจ” รูปแบบแรก อาจเป็นการกระจายอำานาจที่มิได้เปิดโอกาสให้กับประชาชนได้มีส่วนร่วม
             ในทางการเมืองมากนัก แต่การกระจายอำานาจในลักษณะนี้กลับมีเป้าหมายสำาคัญในการช่วยให้กลไกของระบบ

             ราชการสามารถตอบสนองหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้รวดเร็มากขึ้น โดยเราจะเรียก
             การกระจายอำานาจแบบนี้ว่ามีลักษณะเป็น “การแบ่งอำานาจ (Deconcentration)” ภายใต้หลักการ

             ของการแบ่งอำานาจนี้ กลไกระบบราชการโดยกระทรวง ทบวง หรือกรมต่างๆ ที่มีสำานักงานหลักอยู่ในส่วนกลาง
             อาจมีการตั้งสำานักงานของตนเองในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ โดยแต่ละหน่วยงานจะมีการแต่งตั้งและมอบหมาย

             ให้บุคลากรของหน่วยงานตน ลงไปปฏิบัติหน้าที่ประจำาอยู่ในหน่วยงานเหล่านั้น รวมทั้งมีการแบ่งอำานาจ
             ในการตัดสินใจบางเรื่องที่อยู่ในอำานาจหน้าที่ของหน่วยงานตน ไปให้กับบุคลากรที่ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่

             ได้ตัดสินใจหรือดำาเนินการแทนในนามของหน่วยงาน (Manor, 1999, pp. 5-6) ทั้งนี้ ในการทำางานของ
             ตัวแทนหน่วยงานที่มาประจำาอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้มักมีลักษณะที่ยึดถือเอาแนวนโยบายหรือการสั่งการจาก

             ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานต้นสังกัดของตนเองเป็นสำาคัญ โดยผู้ที่ปฏิบัติงานจะตระหนักว่าตนเองต้องรับผิดชอบ
             ต่อหน่วยงานต้นสังกัดมากกว่าที่จะเป็นประชาชนในพื้นที่ที่ตนเองนั้นมาปฏิบัติงาน (Manor, 1999, pp. 5-6)


                      ในบางประเทศ อาจเป็นไปได้ว่าหน่วยงานที่ลงมาปฏิบัติงานในระดับพื้นที่นั้นมีหลายหน่วยงาน

             ดังนั้น รัฐบาลอาจมอบหมายให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือตัวแทนของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
             มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารหน่วยงานทั้งปวงที่ลงมาปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ในนามของรัฐบาล เช่น

             ในกรณีของประเทศไทย ที่เรามีการจัดการบริหารราชการส่วนภูมิภาคโดยแบ่งออกเป็นจังหวัด และอำาเภอ
             ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำานาจเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานทั้งหลายในสังกัดของภูมิภาค โดย

             ในบริบทของระบบกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดินของไทยเราเรียกการแบ่งอำานาจในการตัดสินใจ
             แบบที่กล่าวมานี้ว่า “ระบบการมอบอำานาจ” ที่อธิบดีกรม หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

             แต่มีฐานะเป็นกรมในส่วนกลางจะมี “การมอบอำานาจ” ในการตัดสินใจและดำาเนินการตามภารกิจของกรม
             ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการของกรมนั้นๆ ที่ประจำาอยู่ในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัด

             หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำาจังหวัดได้ตัดสินใจและดำาเนินการแทน หรือในกรณีของประเทศฝรั่งเศส
             ก็มีผู้ว่าราชการจังหวัด (Préfet) ที่ถือเป็นตัวแทนของรัฐบาลที่มาบังคับบัญชาข้าราชการทั้งปวงซึ่งราชการ

             ส่วนกลางส่งมาประจำาในพื้นที่ของจังหวัดแต่ละจังหวัดในประเทศฝรั่งเศส (นันทวัฒน์ บรมานันทร์, 2561, น. 9)


                      จากการที่การกระจายอำานาจในรูปแบบนี้ อาจมิได้มีเป้าหมายในการเปิดโอกาสให้ประชาชน
             ในท้องถิ่นได้มีบทบาทหรือส่วนร่วมในการบริหารงาน ดังนั้นแล้ว จึงอาจพิจารณาได้ว่าการกระจายอำานาจ

             ในรูปแบบนี้เป็นการกระจายอำานาจที่มุ่งให้ความสำาคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของระบบ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15