Page 13 - kpiebook63023
P. 13
13
สำาหรับการกระจายอำานาจในรูปแบบที่สามนั้น สืบเนื่องจากการที่ในปัจจุบันสภาพบริบททาง
การเมือง เศรษฐกิจ และการบริหารมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ
การเมืองและเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมีส่วนอย่างสำาคัญในการทำาให้ภาคประชาชน ธุรกิจเอกชน รวมถึงกลุ่ม
ประชาสังคมต่างๆ ได้เติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ได้เข้ามามีส่วนอย่างสำาคัญต่อพลวัต
ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของหลายประเทศ อาทิ มีส่วนอย่างสำาคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
ของประเทศ หรือ จัดบริการสาธารณะบางประเภทให้กับประชาชน อย่างเช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา
เป็นต้น ประกอบกับประสบการณ์ของหลายประเทศที่ประสบกับสภาพปัญหาที่ว่ารัฐเองมีขีดความสามารถใน
การจัดบริการสาธารณะที่จำากัด เช่น อาจไม่มีงบประมาณ หรือบุคลากรที่มากพอ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำาให้เกิด
ลักษณะหรือรูปแบบของการกระจายอำานาจในอีกลักษณะหนึ่ง นั่นก็คือ การกระจายอำานาจในลักษณะของ
“การมอบหมาย (Delegate)” ให้ภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมเป็นผู้จัดทำาบริการสาธารณะแทนภาครัฐ
(Cohen and Peterson, 1999, p. 5 ; Cheema and Rondinelli, 2007 ; ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2555)
ซึ่งการมอบหมายให้เอกชนหรือภาคประชาสังคมมาจัดบริการแทนภาครัฐนี้ อาจมีลักษณะในรายละเอียด
ที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำาสัญญาจ้างเหมาบริการ การให้สัญญาสัมปทาน การเป็นภาคีหุ้นส่วน
ระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership, PPP) หรือแม้แต่กระทั่งการที่ภาครัฐแปรรูปหน่วยงาน
ของรัฐเองให้มีลักษณะเป็นองค์การมหาชนหรือเอกชน ด้วยเหตุผลเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับ
ภาคเอกชน ก็ล้วนถือเป็นรูปแบบของการกระจายอำานาจที่รัฐมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำาเนินการแทนได้ทั้งสิ้น
การกระจายอำานาจในรูปแบบของการมอบหมายให้ภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมเป็นผู้ดำาเนินการ
แทนรัฐนั้น อาจพบเห็นได้ทั้งในระดับชาติหรือในระดับท้องถิ่น อย่างในกรณีของระดับชาติ เราอาจเห็น
รัฐบาลกลางมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนในบริการสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น กิจการรถไฟ การสร้าง
ทางพิเศษ ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม เป็นต้น สำาหรับในระดับท้องถิ่น การกระจายอำานาจโดยมอบหมาย
ให้เอกชนเป็นผู้ดำาเนินการแทน เรามักพบเห็นการทำาสัญญาจ้างเหมาบริการ หรือการให้สัญญาสัมปทานแก่
ภาคเอกชน เช่น การจ้างเหมาให้เอกชนมาดำาเนินการจัดเก็บและทำาลายขยะ การให้เอกชนรับสัมปทาน
การเดินรถขนส่งมวลชนภายในเขตท้องถิ่น นอกจากนั้น เรายังอาจเห็นการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำา
สัญญาข้อตกลงกับภาคประชาสังคม ที่เป็นมูลนิธิหรือองค์กรไม่แสวงหากำาไร (Non-Profit Organizations,
NPOs) เพื่อให้องค์กรเหล่านั้นมาจัดบริการสาธารณะบางประเภท เช่น การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลเด็กและ
ผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น
การกระจายอำานาจในรูปแบบนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อยู่มากพอสมควรว่าเป็นรูปแบบของ
การกระจายอำานาจที่โดยแท้จริงแล้วเป็นการลดทอนบทบาทและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการ
สาธารณะ เสียงและความต้องการของประชาชนอาจถูกละเลยหรือมองข้ามไป (Goodman and Loveman,
1991) เพราะภาคเอกชนที่เข้ามาทำาหน้าที่แทนภาครัฐนั้นต้องคำานึงถึงเรื่องของผลประกอบการที่ต้องมีกำาไร
มาก่อนเป็นอันดับต้น การกระจายอำานาจในการจัดบริการสาธารณะโดยมอบหมายให้กับภาคเอกชนเป็น
ผู้ดำาเนินการนั้น จึงอาจมีผลทำาให้สถานภาพของประชาชนภายในรัฐหรือท้องถิ่นมิได้เป็น “พลเมือง” ที่รัฐ
มีหน้าที่ต้องจัดสวัสดิการและดูแลความเป็นอยู่ในด้านต่างๆ แต่กลับกลายว่ามีสถานะเป็น “ลูกค้า” ที่รับบริการ
โดยบริการที่ได้รับย่อมเป็นสิ่งที่แปรผันตามค่าใช้จ่ายหรือเงินที่ลูกค้าต้องจ่ายให้กับผู้ประกอบการ